สวัสดีเพื่อนๆที่เข้ามาเยี่ยมชม Blog แห่งนี้ครับ

เนื่องจากบล็อกแห่งนี้ทำขึ้นเพื่อเป็นการนำเสนอพระเครื่องที่ผมเก็บสะสมไว้เอง แล้วยังรวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับพระเครื่องและสถานที่ ที่น่าสนใจต่างๆ เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่สามารถศึกษาได้ ซึ่งหากข้อมูลใดผิดพลาด เพื่อนๆสามารถช่วยกันเพิ่มเติมแก้ไขทางกระทู้ของแต่ละหน้าได้นะครับ ..
โฆษณาของคุณตรงนี้ ขนาด 750 X 200 px 500บาท/เดือน สนใจติดต่อ RarePra@Hotmail.com 08-0411-3348(คุณป๊อป)
จำหน่ายเสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬา ยาสมุนไพรหมอเส็ง
พื้นที่โฆษณา 4 ขนาด 150 X 100 px 200บาท/เดือน RarePra@Hotmail.com 08-0411-3348
พื้นที่โฆษณา 5 ขนาด 150 X 100 px 200บาท/เดือน RarePra@Hotmail.com 08-0411-3348

สนใจเช่าพระจากเว็บนี้ Line Id: poppyniwa








ตำหนิของ พิมพ์พระท่ากระดาน กรุศรีสวัสดิ์ (กรุเก่า)
1. ขาที่วางซ้อนกันมีรอยขาดทั้งสองข้างเกิดจากตำหนิของแม่พิมพ์
2. มือที่วางบนตักระหว่างนิ้วโป้งกับนิ้วชี้มีร่องเล็กน้อย
3. ลูกตาขององค์พระคล้ายผลมะปรางและเฉียงขึ้นเล็กน้อย
4. ปรากฎรักยิ้มขององค์พระที่มุมปากทั้งสองข้าง
5. มีไขแซมขึ้นจากเนื้อองค์พระ
6. มีการยุบตัวของตะกั่วเกิดจากความเก่าของตะกั่วเพราะมีอายุหลายร้อยปี

พระท่ากระดาน กรุศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี พระท่ากระดาน เป็นพระที่ถูกสร้างในสมัยอู่ทอง คือ ประมาณปี พ.ศ.1800 ถึง พ.ศ.2031 เป็นพระเครื่องที่มีลักษณะแบบนูนสูง คือ มีภาพด้านหน้าด้านเดียว ด้านหลังแบนเรียบ และจะเน้นส่วนนูนสูงและส่วนลึก

พระท่ากระดานเป็นพระประติมากรปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบมีสังฆาฏิแบบสี่เหลี่ยมกว้างหนายาวจรดลงมา มีฐานหนา ซึ่งเรียกว่า ฐานสำเภาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระยุคอู่ทอง พระเกศยาวใบหน้าลึก ลักษณะคล้ายยิ้มแบบเครียดๆเป็นลักษณะแบบอู่ทองเกศของพระท่ากระดานนั้น สันนิษฐานว่าจะทำเป็นเกศยาวทุกองค์และตรงขึ้นไป เกี่ยวกับอายุมากและอยุ่ใต้ดินถูกทับถมเลยทำให้ปลายเกศซึ่งมีความบอบบางอาจ หักชำรุดหรือคดงอ เลยทำให้ปลายเกศของพระท่ากระดานมีหลายลักษณะ คือ เกศยาวตรงเลยเรียกว่า “พิมพ์เกศตรง” ส่วนเกศที่คดไปคดมาเพราะเกิดจากการบิดงอรือถูกทับบิดไปเลยเรียกว่า พิมพ์ “เกศคด” องค์ที่เกศหักในกรุเพราะชำรุดตามอายุ ทำให้เกศเลยสั้นเลยเรียกว่า “เกศบัวตูม” แต่ความจริงแล้วเป็นพระที่สร้างเกศยาวตรงตามแบบองค์ที่สมบูรณ์มากนั้นเอง

มือของพระท่ากระดานมีลักษณะหนาเป็นเอกลักษณ์ของพระอู่ทอง พระท่ากระดาน ถือว่าเป็นพระประจำเมืองกาญจนบุรี จนได้รับฉายาว่า ขุนศึกแห่งลุ่มแม่น้ำกลอง ที่โด่งดังและเป็นที่รู้จักของวงการพระเครื่องเมืองไทยมาช้านาน พระท่ากระดาน กรุศรีสวัสดิ์ "ท่ากระดาน" เป็นตำบลหนึ่งใน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี


ประวัติ พระท่ากระดาน
พระท่ากระดาน เป็นพระเครื่องที่สร้างในยุคสมัยอู่ทอง สันนิษฐานว่า ผู้ที่สร้างมิใช่พระสงฆ์ แต่เป็นฆราวาสที่เรียกกันว่า ฤๅษี ในยุคโบราณ เป็นการสันนิษฐานจากหลักฐานที่ปรากฏบนใบลานเงินลานทอง ในการค้นพบพระเครื่องกรุ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี และพระเครื่องกรุวัดพระบรมธาตุ จ.กำแพงเพชร ที่ได้กล่าวถึงการสร้างพระเครื่องของบรรดาพระฤๅษีทั้ง 11 ตน แต่มีฤๅษีอยู่ 3 ตน ที่ถือว่าเป็นใหญ่ในบรรดาฤๅษีทั้งปวง คือ ฤๅษีตาไฟ ฤๅษีตาวัว และ ฤาษีพิลาลัย ฤาษีที่สันนิษฐานว่าเป็น ผู้สร้างพระท่ากระดาน ก็คือ ฤๅษีตาไฟ โดยการอาราธนาของ เจ้าเมืองท่ากระดาน เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็นำมาบรรจุไว้ในอารามสำคัญของเมืองท่ากระดาน เมืองศรีสวัสดิ์ และเมืองกาญจนบุรีเก่า ในสมัยนั้น จากคำบอกเล่าของคนเมืองกาญจนบุรีรุ่นเก่า ที่เรียก พระท่ากระดาน ว่า พระเกศบิดตาแดง นั้น มีความหมายลึกซึ้ง บ่งบอกถึงเอกลักษณ์สำคัญของพระเครื่องชนิดนี้โดยตรง ชี้เบาะแสให้พิจารณาถึงผู้สร้างได้เป็นอย่างดี ด้วยคำว่า เกศบิด ตรงกับลักษณะพระเกศของพระที่มีลักษณะยาว และบิดม้วน ดุจชฎาของพระฤๅษี พระพักตร์ลักษณะเป็นหน้าพระฤๅษีอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งการก้มง้ำของพระพักตร์ แฝงไว้ด้วยความเข้มขลังของอาตาจญาณสมาบัติ ส่วนคำว่า ตาแดง นั้น ดูเหมือนว่าจะทวีความลึกลับยิ่งขึ้นไปอีก เพราะมิได้หมายความว่า พระเนตรขององค์พระมีวรรณะแดงของสนิมแดงแต่เพียงอย่างเดียว ส่วนอื่นๆ ขององค์พระก็ปรากฏวรรณะของสนิมแดงปกคลุมอยู่โดยทั่วไป จากลักษณะพิเศษต่างๆ ดังกล่าวนี้ ทำให้สันนิษฐานและประมาณการได้ว่า ผู้สร้าง พระท่ากระดาน นี้ น่าจะได้แก่ พระฤๅษีตาไฟ จารึกในย่านป่าเขาเขตกาญจนบุรี (ทางผ่านอู่ทอง) คงมีอาศรมอยู่ในป่าแถบนี้ และบางโอกาสก็จำศีลภาวนาอยู่ในถ้ำต่างๆ เช่นที่ ถ้ำลั่นทม เขต อ.ศรีสวัสดิ์ ซึ่งมีหลักฐานว่า เป็นแหล่งกำเนิดของ พระท่ากระดาน โดยมีการขุดพบพระท่ากระดานจำนวนหลายร้ององค์ บรรจุอยู่ในพระเจดีย์โบราณหน้าถ้ำ นอกจากนี้ยังได้ขุดพบ แม่พิมพ์ ของพระท่ากระดาน พร้อมกับเศษตะกั่ว ที่มีสนิมแดงเกิดขึ้นอีกมากมาย ทำให้สันนิษฐานว่า บริเวณหน้าถ้ำลั่นทม คือ สถานที่สร้างพระท่ากระดาน นั่นเอง

พุทธลักษณะ พระท่ากระดาน เป็นพระเครื่องปฏิมากรรมแบบนูนสูง คือมีภาพด้านหน้าด้านเดียว ด้านหลังแบนเรียบ โดยจะเน้นส่วนนูนสูง และส่วนลึก องค์พระปางมารวิชัยขัดราบ มีสังฆาฏิแบบสี่เหลี่ยมกว้างหนา ยาวจรดลงมาถึงบริเวณส่วนพระหัตถ์ซ้าย ฐานสำเภา อันเป็นเอกลักษณ์ของพระยุคอู่ทอง พระเกศยาว ใบหน้าลึก เป็นลักษณะแบบพุทธศิลปะยุคอู่ทอง พระเกศจะเป็นแบบยาวตรงขึ้นไปทุกองค์ แต่เนื่องจากระยะเวลาของอายุพระมาก และอยู่ใต้ดิน ถูกทับถมมาก ทำให้ปลายเกศซึ่งมีความบอบบาง อาจจะหักชำรุด หรืองอคดไปด้านใดด้านหนึ่ง ปลายเกศของพระท่ากระดาน จึงมีหลายลักษณะ คือ เกศยาวตรง เรียกว่า พิมพ์เกศตรง ส่วนเกศที่คดไปด้านใดด้านหนึ่ง เรียกว่า พิมพ์เกศคด พระองค์ใดที่เกศหักชำรุด ทำให้เกศหดเหลือสั้น เรียกว่า พิมพ์เกศบัวตูม

เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของพระท่ากระดาน คือ
พระหัตถ์ (มือ) มีลักษณะหนา ตามเอกลักษณ์ของพระอู่ทอง ลักษณะพระพักตร์ (หน้า) ของพระท่ากระดาน เป็นลักษณะพุทธศิลป์อู่ทอง ต้นพระหนุ (ขากรรไกร) พระหนุ (คาง) มีลักษณะยื่นออกมาข้างหน้าอย่างคมสัน เข้าลักษณะของอู่ทองคางคน พระเนตรปิดสนิท ลักษณะเมล็ดข้าวสาร ปลายเฉียงเข้าหาพระนาสิก (จมูก) ประกอบด้วย การก้มง้ำของพระพักตร์ มุมพระโอษฐ์ (ปาก) ทั้ง ๒ ข้างเน้นเป็นร่องลึก ทำให้ปรากฏแววยิ้มบนพระพักตร์ ดังนั้น พระพักตร์ของพระท่ากระดานจึงมีลักษณะเคร่งขรึม แต่แฝงไว้ด้วยรอยยิ้มดันอ่อนโยน อย่างน่าพิศวง ใน ส่วนของพระอุระ (อก) ลำพระองค์ และเส้นสังฆาฏิ โดยรวมมีลักษณะพระอุระผายกว้าง ตอนส่วนบนปาดเป็นเต้าสูง และสอบคดลงเบื้องล่าง ในแนวพระอุทร (ท้อง) หากมองดูแบบผิวเผิน พระอุระ (อก) จะมีลักษณะคล้ายรูปหัวช้าง (เช่นเดียวกับที่ปรากฏในพระผงสุพรรณ) เส้นสังฆาฏิเป็นเส้นหนา พาดพระอังสา (ไหล่) เบื้องซ้ายขององค์พระ ลักษณะของเส้นสังฆาฏิ ที่น่าสังเกตประการหนึ่ง คือ ปลายส่วนบนที่พาดพระอังสานั้น เมื่อพิจารณาให้ละเอียดจะพบว่า ปลายเส้นสังฆาฏิบริเวณนี้ เลือนหายเข้าสู่บริเวณกระดูกไหปลาร้า ใต้คางขององค์พระ เหมือนไม่ใช่พาดเหนือไหล่ เป็นลักษณะเช่นนี้ในพระทุกองค์ ส่วนพระเพลา หรือหน้าตักของพระท่ากระดานทุกกรุ มีส่วนของความหนาและแน่น ทับซ้อนกันอย่างแข็งทื่อ แน่นหนาอย่างมั่นคง ความเป็นศิลปะอู่ทองอีกส่วนหนึ่งคือ ฐาน เป็นแบบ พระอู่ทองฐานสำเภา คือเป็นฐานเขียงชั้นเดียว แสดงลักษณะแง่สันแท่งเหลี่ยม เมื่อพิจารณาจากด้านข้าง เห็นว่ามีความเฉียงลาดข้างบนเล็ก ข้างล่างบางใหญ่ เป็นฐานเกลี้ยงปราศจากบัวหรือสิ่งอื่นใด

พระท่ากระดาน มีการค้นพบ และขึ้นจากกรุหลายต่อหลายครั้ง ทั้งอย่างเป็นทางการ และถูกลักลอบขุด หากขึ้นหรือพบในยุคแรกๆ นิยมเรียกว่า พระกรุเก่า ส่วนที่มีการขุดพบเมื่อไม่นานมานี้ เรียกว่า พระกรุใหม่ ความเป็นจริงแล้ว ทั้งพระกรุเก่าและพระกรุใหม่ ล้วนสร้างขึ้นในสมัยเดียวกันทั้งสิ้น จะต่างก็เฉพาะระยะเวลาของการขุดพบพระกรุนั้นๆ

หลักการพิจารณาว่า พระท่ากระดาน องค์ใดเป็น พระกรุเก่า หรือ พระกรุใหม่ ให้พิจารณาพื้นผิวขององค์พระ

-พระกรุเก่า ขึ้นจากกรุมานานปี ผ่านการใช้สัมผัส และเปลี่ยนมือมามาก ทำให้ผิวขององค์พระเปิด เผยให้เห็นผิวของเนื้อพระได้โดยง่าย แม้จะเก็บรักษาอย่างดีเพียงใด ก็ยังพอสังเกตได้ ส่วน

-พระกรุใหม่ พื้นผิวขององค์พระ มักถูกปกคลุมด้วยคราบดินขี้กรุให้เห็นเป็นจำนวนมาก

ขนาดขององค์
-พระท่าพระดาน พิมพ์ใหญ่ กว้างประมาณ 2.8 ซม. สูงประมาณ 4.5 ซม. ความหนาที่ฐานพระ 1.3 ซม. -พระท่าพระดาน พิมพ์เล็ก กว้างประมาณ 2.5 ซม. สูงประมาณ 3.8 ซม. ความหนาที่ฐาน 1.2 ซม.


พุทธคุณพระท่ากระดาน จ.กาญจนบุรี ยอดเยี่ยมทางแคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี

เรื่องที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

พระครูคงคนครพิทักษ์ (หลวงพ่อคง)


    ประวัติและวัตถุมงคล พระครูคงคนครพิทักษ์ (คง ฐิติปัญโญ)
พระครูคงคนครพิทักษ์ (คง ฐิติปัญโญ)

         เมื่อ ปี พ.ศ.2523 หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ลงข่าว ผู้หญิงถูกผู้ชายยิงในตรอกหลักหินใกล้หัวลำโพง สาเหตุที่สมาคนเก่าเกิดความแค้นที่อดีตภรรยาเดินคู่กับสามีคนใหม่ แต่ลูกปืนที่ยิงผู้หญิงนั้นยิงไม่เข้า เมื่อดูในคอจึงรว่ามีเหรียญของหลวงพ่อคงห้อยคอเพียงองค์เดียวเท่านั้น เป็นเหรียญเสมาด้านหลังนางกวัก เป็นเหรียญรุ่นแรกของท่าน จากข่าวที่ลงในหน้าหนังสือพิมพ์รายวันทำให้คนจากหลาย ๆ จังหวัดที่มีความเลื่อมใสเดินทางไปยังวัดเพื่อบูชาเหรียญของท่าน ปรากฏว่าช่วงนั้นพระเครื่องของท่านมีไม่กี่รุ่นได้หมดไปจากวัดในเวลาอันรวด เร็ว และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาผู้คนก็เดินทางไปหากันไม่เคยขาด พระเครื่องของท่านได้จัดสร้างกันมาตลอดเวลา และแต่ละรุ่นนั้นก็มีประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ เป็นที่กล่าวขานถึงบุญญาอภินิหาร
     
        พระอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ศึกษาธรรมะ และเล่าเรียนวิชาอาคมขลังเอาไว้ช่วยเหลือผู้คนที่มีความเดือนร้อน นับว่าเป็นความโชคดีอย่างมากที่สมัยนี้การเดินทางนั้นสะดวกรวดเร็ว อีกทั้งข่าวสารก็ช่วยกันเผยแพร่ให้คนรู้จัก จากวัดตะคร้อที่มีสิ่งก่อสร้งไม่มากมายอะไรนักก็เจริญขึ้นมาใหญ่โตมากในระยะ เวลาไม่กี่ปีเท่านั้น เมืองโคราช หรือนครราชสีมานี้ อดีตนั้นเคยมีผู้หญิงกล้า พระอาจารย์ในอดีตที่ผ่านมานับเป็นร้อย ๆ รูปที่ทรงคุณวิเศษในด้านต่าง ๆ ก็มากมายและศิษย์ก็ได้รับการสืบทอดวิชานั้นเอาไว้จนมาถึงปัจจุบัน
ชาติภูมิ นามเดิมว่า คง นามสกุล เทพนอก เกิดเมื่อปีกุน พ.ศ.2454 ที่บ้านดอนเมือง อ.คง พ่อของท่านชื่อ พูน แม่ของท่านชื่อ แย้ม ท่านเป็นลูกชายคนโตในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 8 คน พ.ศ.2471 ท่าบวชเป็นสามเณร พ.ศ.2475 ก็บวชเป็นพระต่อเลยที่ วัดบ้านวัด ต.เทพาลัย อ.คง จ.นครราชสีมา พระครูศรีวิสุทธิพรต วัดเดิม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สุข เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ทิม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ภายหลังบวชไปอยู่วัดแจ้งนอกในตัวเมืองโคราชเพื่อเล่าเรียนด้านธรรมะ และเดินทางไปอยู่ที่วัดหนองจะบก สองปีที่ผ่านมาอยู่วัดนี้เพื่อสะดวกในการเดินทางไปเรียนหนังสือและศึกษาด้าน ธรรมะที่ วัดบึง อันเป็นสำนักยิ่งใหญ่ในสมัยนั้น ได้นักธรรมเอกและติดตามพระอาจารญ์ของท่านไปอยู่อีกหลายวัด และเดินทางเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ นอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค จากสำนักวัดบวรนิเวศวิหาร แล้วไปอยู่ที่บัวใหญ่ ต่อจากนั้นก็ไปอยู่วัดตะคร้อเมื่อปี พ.ศ.2495 พ.ศ.2496 ท่านเป็นเจ้าคณะอำเภอและเป็นพระอุปัชฌาย์

         พระอาจารย์ที่ถ่ายทอดวิชาอาคมขลังให้ ท่านมีดังนี้ หลวงพ่อเสี่ยง วัดเสมาใหญ่ หลวงพ่อรอด วัดดอนผวา หลวงพ่อเขียว วัดปอปิด แต่ละรูปนั้นในด้านคุณวิเศษของท่านแล้วยอดเยี่ยมที่สุดสมัยนั้น แต่ละรูปเหรียญหรือพระเครื่องของท่านล้วนแต่ราคาแพงมากด้วย

          หลวงพ่อคงท่านเป็นพระที่สร้างความ เจริญให้กับวัดตะคร้อเป็นอย่างมาก พระเครื่องของท่านนั้นมีไม่ต่ำกว่า 50 รุ่น คิดเอาเถอะครับว่าพระบ้านนอกอยางนั้นถ้าไม่แน่จริงแล้วคงไม่มีการสร้างพระ เครื่องมามากขนาดนั้น แต่ด้วยความศรัทธาของประชาชนที่มีพระเครื่องของท่านติดตัวแล้วมีประสบการณ์ ในด้านต่าง ๆ นั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น