สวัสดีเพื่อนๆที่เข้ามาเยี่ยมชม Blog แห่งนี้ครับ

เนื่องจากบล็อกแห่งนี้ทำขึ้นเพื่อเป็นการนำเสนอพระเครื่องที่ผมเก็บสะสมไว้เอง แล้วยังรวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับพระเครื่องและสถานที่ ที่น่าสนใจต่างๆ เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่สามารถศึกษาได้ ซึ่งหากข้อมูลใดผิดพลาด เพื่อนๆสามารถช่วยกันเพิ่มเติมแก้ไขทางกระทู้ของแต่ละหน้าได้นะครับ ..
โฆษณาของคุณตรงนี้ ขนาด 750 X 200 px 500บาท/เดือน สนใจติดต่อ RarePra@Hotmail.com 08-0411-3348(คุณป๊อป)
จำหน่ายเสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬา ยาสมุนไพรหมอเส็ง
พื้นที่โฆษณา 4 ขนาด 150 X 100 px 200บาท/เดือน RarePra@Hotmail.com 08-0411-3348
พื้นที่โฆษณา 5 ขนาด 150 X 100 px 200บาท/เดือน RarePra@Hotmail.com 08-0411-3348

สนใจเช่าพระจากเว็บนี้ Line Id: poppyniwa








ตำหนิของ พิมพ์พระท่ากระดาน กรุศรีสวัสดิ์ (กรุเก่า)
1. ขาที่วางซ้อนกันมีรอยขาดทั้งสองข้างเกิดจากตำหนิของแม่พิมพ์
2. มือที่วางบนตักระหว่างนิ้วโป้งกับนิ้วชี้มีร่องเล็กน้อย
3. ลูกตาขององค์พระคล้ายผลมะปรางและเฉียงขึ้นเล็กน้อย
4. ปรากฎรักยิ้มขององค์พระที่มุมปากทั้งสองข้าง
5. มีไขแซมขึ้นจากเนื้อองค์พระ
6. มีการยุบตัวของตะกั่วเกิดจากความเก่าของตะกั่วเพราะมีอายุหลายร้อยปี

พระท่ากระดาน กรุศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี พระท่ากระดาน เป็นพระที่ถูกสร้างในสมัยอู่ทอง คือ ประมาณปี พ.ศ.1800 ถึง พ.ศ.2031 เป็นพระเครื่องที่มีลักษณะแบบนูนสูง คือ มีภาพด้านหน้าด้านเดียว ด้านหลังแบนเรียบ และจะเน้นส่วนนูนสูงและส่วนลึก

พระท่ากระดานเป็นพระประติมากรปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบมีสังฆาฏิแบบสี่เหลี่ยมกว้างหนายาวจรดลงมา มีฐานหนา ซึ่งเรียกว่า ฐานสำเภาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระยุคอู่ทอง พระเกศยาวใบหน้าลึก ลักษณะคล้ายยิ้มแบบเครียดๆเป็นลักษณะแบบอู่ทองเกศของพระท่ากระดานนั้น สันนิษฐานว่าจะทำเป็นเกศยาวทุกองค์และตรงขึ้นไป เกี่ยวกับอายุมากและอยุ่ใต้ดินถูกทับถมเลยทำให้ปลายเกศซึ่งมีความบอบบางอาจ หักชำรุดหรือคดงอ เลยทำให้ปลายเกศของพระท่ากระดานมีหลายลักษณะ คือ เกศยาวตรงเลยเรียกว่า “พิมพ์เกศตรง” ส่วนเกศที่คดไปคดมาเพราะเกิดจากการบิดงอรือถูกทับบิดไปเลยเรียกว่า พิมพ์ “เกศคด” องค์ที่เกศหักในกรุเพราะชำรุดตามอายุ ทำให้เกศเลยสั้นเลยเรียกว่า “เกศบัวตูม” แต่ความจริงแล้วเป็นพระที่สร้างเกศยาวตรงตามแบบองค์ที่สมบูรณ์มากนั้นเอง

มือของพระท่ากระดานมีลักษณะหนาเป็นเอกลักษณ์ของพระอู่ทอง พระท่ากระดาน ถือว่าเป็นพระประจำเมืองกาญจนบุรี จนได้รับฉายาว่า ขุนศึกแห่งลุ่มแม่น้ำกลอง ที่โด่งดังและเป็นที่รู้จักของวงการพระเครื่องเมืองไทยมาช้านาน พระท่ากระดาน กรุศรีสวัสดิ์ "ท่ากระดาน" เป็นตำบลหนึ่งใน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี


ประวัติ พระท่ากระดาน
พระท่ากระดาน เป็นพระเครื่องที่สร้างในยุคสมัยอู่ทอง สันนิษฐานว่า ผู้ที่สร้างมิใช่พระสงฆ์ แต่เป็นฆราวาสที่เรียกกันว่า ฤๅษี ในยุคโบราณ เป็นการสันนิษฐานจากหลักฐานที่ปรากฏบนใบลานเงินลานทอง ในการค้นพบพระเครื่องกรุ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี และพระเครื่องกรุวัดพระบรมธาตุ จ.กำแพงเพชร ที่ได้กล่าวถึงการสร้างพระเครื่องของบรรดาพระฤๅษีทั้ง 11 ตน แต่มีฤๅษีอยู่ 3 ตน ที่ถือว่าเป็นใหญ่ในบรรดาฤๅษีทั้งปวง คือ ฤๅษีตาไฟ ฤๅษีตาวัว และ ฤาษีพิลาลัย ฤาษีที่สันนิษฐานว่าเป็น ผู้สร้างพระท่ากระดาน ก็คือ ฤๅษีตาไฟ โดยการอาราธนาของ เจ้าเมืองท่ากระดาน เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็นำมาบรรจุไว้ในอารามสำคัญของเมืองท่ากระดาน เมืองศรีสวัสดิ์ และเมืองกาญจนบุรีเก่า ในสมัยนั้น จากคำบอกเล่าของคนเมืองกาญจนบุรีรุ่นเก่า ที่เรียก พระท่ากระดาน ว่า พระเกศบิดตาแดง นั้น มีความหมายลึกซึ้ง บ่งบอกถึงเอกลักษณ์สำคัญของพระเครื่องชนิดนี้โดยตรง ชี้เบาะแสให้พิจารณาถึงผู้สร้างได้เป็นอย่างดี ด้วยคำว่า เกศบิด ตรงกับลักษณะพระเกศของพระที่มีลักษณะยาว และบิดม้วน ดุจชฎาของพระฤๅษี พระพักตร์ลักษณะเป็นหน้าพระฤๅษีอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งการก้มง้ำของพระพักตร์ แฝงไว้ด้วยความเข้มขลังของอาตาจญาณสมาบัติ ส่วนคำว่า ตาแดง นั้น ดูเหมือนว่าจะทวีความลึกลับยิ่งขึ้นไปอีก เพราะมิได้หมายความว่า พระเนตรขององค์พระมีวรรณะแดงของสนิมแดงแต่เพียงอย่างเดียว ส่วนอื่นๆ ขององค์พระก็ปรากฏวรรณะของสนิมแดงปกคลุมอยู่โดยทั่วไป จากลักษณะพิเศษต่างๆ ดังกล่าวนี้ ทำให้สันนิษฐานและประมาณการได้ว่า ผู้สร้าง พระท่ากระดาน นี้ น่าจะได้แก่ พระฤๅษีตาไฟ จารึกในย่านป่าเขาเขตกาญจนบุรี (ทางผ่านอู่ทอง) คงมีอาศรมอยู่ในป่าแถบนี้ และบางโอกาสก็จำศีลภาวนาอยู่ในถ้ำต่างๆ เช่นที่ ถ้ำลั่นทม เขต อ.ศรีสวัสดิ์ ซึ่งมีหลักฐานว่า เป็นแหล่งกำเนิดของ พระท่ากระดาน โดยมีการขุดพบพระท่ากระดานจำนวนหลายร้ององค์ บรรจุอยู่ในพระเจดีย์โบราณหน้าถ้ำ นอกจากนี้ยังได้ขุดพบ แม่พิมพ์ ของพระท่ากระดาน พร้อมกับเศษตะกั่ว ที่มีสนิมแดงเกิดขึ้นอีกมากมาย ทำให้สันนิษฐานว่า บริเวณหน้าถ้ำลั่นทม คือ สถานที่สร้างพระท่ากระดาน นั่นเอง

พุทธลักษณะ พระท่ากระดาน เป็นพระเครื่องปฏิมากรรมแบบนูนสูง คือมีภาพด้านหน้าด้านเดียว ด้านหลังแบนเรียบ โดยจะเน้นส่วนนูนสูง และส่วนลึก องค์พระปางมารวิชัยขัดราบ มีสังฆาฏิแบบสี่เหลี่ยมกว้างหนา ยาวจรดลงมาถึงบริเวณส่วนพระหัตถ์ซ้าย ฐานสำเภา อันเป็นเอกลักษณ์ของพระยุคอู่ทอง พระเกศยาว ใบหน้าลึก เป็นลักษณะแบบพุทธศิลปะยุคอู่ทอง พระเกศจะเป็นแบบยาวตรงขึ้นไปทุกองค์ แต่เนื่องจากระยะเวลาของอายุพระมาก และอยู่ใต้ดิน ถูกทับถมมาก ทำให้ปลายเกศซึ่งมีความบอบบาง อาจจะหักชำรุด หรืองอคดไปด้านใดด้านหนึ่ง ปลายเกศของพระท่ากระดาน จึงมีหลายลักษณะ คือ เกศยาวตรง เรียกว่า พิมพ์เกศตรง ส่วนเกศที่คดไปด้านใดด้านหนึ่ง เรียกว่า พิมพ์เกศคด พระองค์ใดที่เกศหักชำรุด ทำให้เกศหดเหลือสั้น เรียกว่า พิมพ์เกศบัวตูม

เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของพระท่ากระดาน คือ
พระหัตถ์ (มือ) มีลักษณะหนา ตามเอกลักษณ์ของพระอู่ทอง ลักษณะพระพักตร์ (หน้า) ของพระท่ากระดาน เป็นลักษณะพุทธศิลป์อู่ทอง ต้นพระหนุ (ขากรรไกร) พระหนุ (คาง) มีลักษณะยื่นออกมาข้างหน้าอย่างคมสัน เข้าลักษณะของอู่ทองคางคน พระเนตรปิดสนิท ลักษณะเมล็ดข้าวสาร ปลายเฉียงเข้าหาพระนาสิก (จมูก) ประกอบด้วย การก้มง้ำของพระพักตร์ มุมพระโอษฐ์ (ปาก) ทั้ง ๒ ข้างเน้นเป็นร่องลึก ทำให้ปรากฏแววยิ้มบนพระพักตร์ ดังนั้น พระพักตร์ของพระท่ากระดานจึงมีลักษณะเคร่งขรึม แต่แฝงไว้ด้วยรอยยิ้มดันอ่อนโยน อย่างน่าพิศวง ใน ส่วนของพระอุระ (อก) ลำพระองค์ และเส้นสังฆาฏิ โดยรวมมีลักษณะพระอุระผายกว้าง ตอนส่วนบนปาดเป็นเต้าสูง และสอบคดลงเบื้องล่าง ในแนวพระอุทร (ท้อง) หากมองดูแบบผิวเผิน พระอุระ (อก) จะมีลักษณะคล้ายรูปหัวช้าง (เช่นเดียวกับที่ปรากฏในพระผงสุพรรณ) เส้นสังฆาฏิเป็นเส้นหนา พาดพระอังสา (ไหล่) เบื้องซ้ายขององค์พระ ลักษณะของเส้นสังฆาฏิ ที่น่าสังเกตประการหนึ่ง คือ ปลายส่วนบนที่พาดพระอังสานั้น เมื่อพิจารณาให้ละเอียดจะพบว่า ปลายเส้นสังฆาฏิบริเวณนี้ เลือนหายเข้าสู่บริเวณกระดูกไหปลาร้า ใต้คางขององค์พระ เหมือนไม่ใช่พาดเหนือไหล่ เป็นลักษณะเช่นนี้ในพระทุกองค์ ส่วนพระเพลา หรือหน้าตักของพระท่ากระดานทุกกรุ มีส่วนของความหนาและแน่น ทับซ้อนกันอย่างแข็งทื่อ แน่นหนาอย่างมั่นคง ความเป็นศิลปะอู่ทองอีกส่วนหนึ่งคือ ฐาน เป็นแบบ พระอู่ทองฐานสำเภา คือเป็นฐานเขียงชั้นเดียว แสดงลักษณะแง่สันแท่งเหลี่ยม เมื่อพิจารณาจากด้านข้าง เห็นว่ามีความเฉียงลาดข้างบนเล็ก ข้างล่างบางใหญ่ เป็นฐานเกลี้ยงปราศจากบัวหรือสิ่งอื่นใด

พระท่ากระดาน มีการค้นพบ และขึ้นจากกรุหลายต่อหลายครั้ง ทั้งอย่างเป็นทางการ และถูกลักลอบขุด หากขึ้นหรือพบในยุคแรกๆ นิยมเรียกว่า พระกรุเก่า ส่วนที่มีการขุดพบเมื่อไม่นานมานี้ เรียกว่า พระกรุใหม่ ความเป็นจริงแล้ว ทั้งพระกรุเก่าและพระกรุใหม่ ล้วนสร้างขึ้นในสมัยเดียวกันทั้งสิ้น จะต่างก็เฉพาะระยะเวลาของการขุดพบพระกรุนั้นๆ

หลักการพิจารณาว่า พระท่ากระดาน องค์ใดเป็น พระกรุเก่า หรือ พระกรุใหม่ ให้พิจารณาพื้นผิวขององค์พระ

-พระกรุเก่า ขึ้นจากกรุมานานปี ผ่านการใช้สัมผัส และเปลี่ยนมือมามาก ทำให้ผิวขององค์พระเปิด เผยให้เห็นผิวของเนื้อพระได้โดยง่าย แม้จะเก็บรักษาอย่างดีเพียงใด ก็ยังพอสังเกตได้ ส่วน

-พระกรุใหม่ พื้นผิวขององค์พระ มักถูกปกคลุมด้วยคราบดินขี้กรุให้เห็นเป็นจำนวนมาก

ขนาดขององค์
-พระท่าพระดาน พิมพ์ใหญ่ กว้างประมาณ 2.8 ซม. สูงประมาณ 4.5 ซม. ความหนาที่ฐานพระ 1.3 ซม. -พระท่าพระดาน พิมพ์เล็ก กว้างประมาณ 2.5 ซม. สูงประมาณ 3.8 ซม. ความหนาที่ฐาน 1.2 ซม.


พุทธคุณพระท่ากระดาน จ.กาญจนบุรี ยอดเยี่ยมทางแคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี

เรื่องที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555




                  ระครูพิบูลย์คณารักษ์ หรือหลวงพ่อดิ่ง คงฺคสุวณฺโณ เป็นชาวบ้านบางวัวแต่กำเนิด ชาวบ้านเรียกกันว่า”เกาะหลังบ้าน” เกิดเมือวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2420 ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 4 ปีฉลู จ.ศ.1239 โยมบิดาชื่อเหม โยมมารดาชื่อล้วน พออายุครบ 20 ปีจึงอุปสมบท ณ วัดบางวัว ได้รับฉายา”คงฺคสุวณฺโณ” ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ 2 พรรษา จึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดไตรมิตรวิทยาราม(วัดสามจีน) ตั้งแต่สมัย ที่หลวงพ่อโมยังมีชีวิตอยู่ ท่านศุกษาได้เพียง 1 พรรษา เจ้าอาวาสวัดบางวัวมรณภาพลง พระภิกษุและชาวบ้านต่างประชุมหารือ ให้นิมนต ์หลวงพ่อ ทิม กลับมาเป็นเจ้าอาวาสสือบไป ซึ่งท่านอาจขัดศรัทธาได้ นับว่าท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสในเวลาอันรวดเร็วมาก บรรพชามาเพียง 3 พรรษาเท่านั้น
          หลวงพ่อดิ่ง เริ่มต้นพัฒนาถาวรวัตถุต่างๆ ภายในวัดซึ่งเริ่มทรุดโทรมไปตามกาลเวลา และพัฒนาด้านการศึกษาพระปริยัติธรรมแก่ พระภิกษุ สามเณรเด้าย ท่านมรณภาพเมือวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2495 สิริอายุได้ 75 ปี 55 พรรษา
          หลวงพ่อดิ่ง เป็นพระที่มีชื่อเสียงด้านวิทยาคมและพุทธาคมสูง วัตถุมงคลของท่านเป็นที่นิยมเล่นหากันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะ “เหรียญรูป เหมือนรุ่นแรก ปี 2481” และลิงจัดหลัก” นอกจากนี้ยังมี เหรียญพระพุทธตะกรุด ผ้ายันต์ และพระปิดตาเนื้อเมฆพัด เป็นต้น


ที่มา : http://province.m-culture.go.th/trat/web53/My%20homepage%20to8888/Introduction/to8888_P192.htm
ต้องขออนุญาตเจ้าของกระทู้ต้นฉบับด้วยนะครับ http://www.sookjai.com/index.php?topic=19050.0
เนื่องจากเนื้อหาเป็นประโยชน์มากทางเราเลยขออนุญาตินำเนื้อหามาลง ณ. ที่นี้



         "หลวงพ่อแดง" แห่งวัดเขาบันไดอิฐ  ท่านเป็นพระเกจิที่มีญาณสมาธิแก่กล้า มีจิตตานุภาพสูงพอที่จะเพ่งเครื่องรางให้ขลังได้ ผ้ายันต์และเหรียญลงยันต์ของหลวงพ่อแดงจึงมีผู้นิยม
เสาะหาไปบูชากันมาก แม้ท่านจะมรณภาพไปตั้งแต่ 16 มกราคม พ.ศ. 2517 แต่ความนิยมเลื่อมใสศรัทธา ความเชื่อมั่นในกฤตยาคม อภินิหาร และอาคมขลังในวัตถุมงคลของท่านก็ยัง
ไม่เสื่อมคลาย หลวงพ่อรูปนี้ท่านมีอะไรดี ทำไมใครๆ ทั่วสารทิศจึงพากันมาวัดเขาบันไดอิฐกันไม่ขาดสาย...

         "หลวงพ่อแดง" หรือ "พระครูญาณวิลาศ" เกิดที่ ต.บางจาก อ.เมือง จ.เพชรบุรี บิดาชื่อนายแป้น มารดาชื่อนางนุ่ม นามสกุล อ้นแสง เกิดเมื่อวันพุธ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 11 พ.ศ. 2422
ในวัยเด็กท่านก็ช่วยพ่อ แม่ทำไร่ ทำนา ไม่มีโอกาสร่ำเรียนหนังสืออย่างเด็กสมัยนี้จนกระทั่ง อายุ 20 ปี พ่อแม่ก็หวังจะให้บวชเรียน จึงพาไปฝากกับท่านอาจารย์เปลี่ยน วัดเขาบันไดอิฐ เพื่อจะ
ได้เล่าเรียนและบวชเป็นพระภิกษุต่อไป

         พระภิกษุแดงเมื่อได้บวชก็ประพฤติเคร่งครัดต่อพระวินั ยและปฏิบัติต่อพระอาจารย์เปลี่ยนเป็นอย่างดี อาจารย์เปลี่ยนจึงรักใคร่มากกว่าศิษย์คนอื่นๆ และยังไดสอนวิชาการวิปัสสนา และ
วิธีนั่งปลงกัมมัฏฐานให้ รวมถึงถ่ายทอดวิชากฤตยาคมให้อย่างไม่ปิดบังหวงแหน เหตุนี้จึงทำให้พระภิกษุแดงเพลิดเพลินในการศึกษาวิชา ความรู้ จนลืมสึก ยิ่งนานวันก็ยิ่งสำนึก ในรสพระธรรม
ก็เลยไม่คิดสึกเลย จึงกลายเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบที่มีอาวุโสสูงสุด

         จนกระทั่งพระอาจารย์เปลี่ยนมรณภาพลง พระภิกษุแดงรับหน้าที่เป็นสมภารวัดเขาบันไดอิฐแทน กลายเป็น "หลวงพ่อแดง" ตั้งแต่ พ.ศ. 2461 เป็นต้นมา และแม้ท่านจะได้เป็นสมภาร
ซึ่งต้องมีภารกิจ มาก แต่ท่านก็ยังปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิในถ้ำเพื่อแสวงหาวิมุตติภาวนาทุกวัน ญาณสมาธิจึงแก่กล้า จิตนิ่ง บริสุทธิ์ จนว่ากันว่าท่านมีหูทิพย์ ตาทิพย์

         หลวงพ่อแดงไม่เคยอวดอ้างในญาณสมาธิของท่าน แต่ผลของความศักดิ์สิทธิ์ในเลขยันต์เป่ามนต์ของท่านก ็ได้สำแดงออกมาให้ประจักษ์ว่าคุ้มครองป้องกันภัยได้แ น่ๆ โดยมีเรื่อง
เล่า กันมาว่า ในระหว่าง พ.ศ. 2477 ถึง พ.ศ. 2480 เวลานั้นเกิดโรคระบาดสัตว์ วัวควายเป็น โรครินเดรอ์เปรส ซึ่งเป็นโรคปากเท้าเปื่อยที่ติดต่อร้ายแรง พากันล้มตายเป็นเบือ สัตว์แพทย์ก็
ไม่มี ต้องขอให้ทางการมาช่วยฉีดยา ราษฎรจึงพากันไปหาหลวงพ่อให้ช่วยปัดเป่าป้องกันโรคระ บาดสัตว์ให้ด้วย

         หลวงพ่อแดง จึงปลุกเสกลงเลขยันต์ในผืนผ้ารูปสี่เหลี่ยมเล็กๆ แจกให้ชาวบ้านที่เลี้ยงวัวควายนำไปผูกปลายไม้ปักไว้ที่คอกสัตว์ของตน ปรากฏผลว่า คอกสัตว์ที่ปักผ้าประเจียด
ยันต์หลวงพ่อแดงไม่ตายเลย ทุกบ้านในตำบลใกล้เคียงวัดเขาบันไดอิฐ เมื่อรู้กิตติศัพท์จึงพากันมาขอยันต์หลวงพ่อแดงทุกวันมิได้ขาด

         กระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 คือมหาสงครามเอเชียบูรพา มีทหารญี่ปุ่นมาขึ้นที่ประจวบคีรีขันธ์ ก็เกิดการต่อสู้กับทหารอากาศของไทยที่นั่น ชาวเพชรบุรีก็ตระหนกตกใจ แล้วชักชวน
กันหาหลวงพ่อแดง ท่านก็ลงผ้าประเจียดยันต์แจก ให้คุ้มครองป้องกันตัว

         เมืองเพชรบุรี เมื่อ พ.ศ. 2487 เกิดภัยสงครามชนิดร้ายแรง มีระเบิดลงทุกวันทำลายสถานีรถไฟ สะพานข้ามแม่น้ำ บ้านเรือน โรงเรียนต้องสั่งปิด ข้าราชการไม่ได้ไปทำงาน ทุกหน่วย
ราชการปิดหมด และปรากฏเรื่องเป็นที่ฮือฮาว่า บ้านคนที่มีผ้ายันต์หรือห้อยเหรียญหลวงพ่อแดง กลับไม่ได้รับอันตรายใดๆ เลย หลวงพ่อแดงจึงดังใหญ่ จนสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 กิตติคุณของ
หลวงพ่อในทางกฤตยาคมจึงปรากฏความศักดิ์สิ ทธิ์แพร่หลายยิ่งขึ้น

         ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อแดง ปรากฏอีกครั้ง เมื่อเกิดคอมมิวนิสต์ญวนเหนือบุกญวนใต้ ประเทศไทยต้องส่งกองพันเสือดำ ออกไปช่วยพันธมิตรรบในญวนใต้ ก็ปรากฏว่าทหารไทย
ที่ไปปฏิบัติหน้าที่รบใน เวียดนาม คนที่มีเหรียญหลวงพ่อแดงห้อยคออยู่ ไม่ถูกอาวุธเป็นอันตรายแก่ชีวิตสักคน ทั้งๆ ที่เข้าประจัญบานอย่างหนัก เป็นที่สงสัยของเพื่อนทหารต่างชาติว่าทหารไทยมี
ของดี อะไร ได้รับคำตอบจากทหารไทยว่ามี "เหรียญหลวงพ่อแดง"

         ท่านเป็นพระใจดีมีเมตตาสูง และอารมณ์ดีเสมอ ไม่ชอบดุด่า ว่าใคร โดยเฉพาะคำหยาบคายถึงพ่อแม่ ท่านห้ามขาด ท่านว่าทุกคนเขาก็มีพ่อมีแม่ การด่าถึงบุพการีทำให้ความดีงาม
เสื่อมถอย ถึงห้อยพระพระท่านก็ไม่คุ้มครอง

         หลวงพ่อแดง มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่ออายุ 96 ปี พรรษาที่ 74 ก่อนตายท่านเคยพูดกับพระปลัดบุญส่ง ธมัมปาโล รองเจ้าอาวาสวัดขณะนั้นว่า

         "เมื่อฉันหมดลมหายใจแล้วอย่าเผา ให้เก็บร่างฉันไว้ที่หอสวดมนต์ และให้เอาเหรียญที่ปลุกเสกรุ่น 1 ใส่ปากไว้พร้อมเงินพดด้วง 1 ก้อน ส่วนนี้ฉันเอาไปได้และให้เอาขมิ้นมาทาตัวฉัน
ให้เหลืองเหมือนทองคำ"

         พระบุญส่งจึงรับปาก และได้ทำตามที่หลวงพ่อประสงค์ทุกอย่างและหลังจากที่หลวงพ่อแดงมรณภาพแล้วก็ ได้เกิดเหตุอัศจ รรย์ที่เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า อภินิหารของหลวงพ่อแดงมีจริง
กับผู้หลักผู้ใหญ่ของเมืองเพชรบุรีท่านหนึ่ง ซึ่งจู่ๆ ท่านก็มีนิมิตฝันเห็นบ่อน้ำโบราณที่ซ่อนตัวอยู่ใต้ต้ นก้ามปูใหญ่ พอขุดก็พบบ่อน้ำนั้นจริงๆ บ่อน้ำแห่งนี้หลวงพ่อแดงเคยพูดไว้สมัยที่ท่านยังมี
ชีวิตอยู่ว่าเป็น "บ่อน้ำวิเศษ" และขณะที่ขุดยังพบ "หัวพญานาคสีขาว" แบบปูนปั้นอยู่ที่ก้นบ่อด้วย 1 หัว เมื่อชาวบ้านรู้ข่าวก็พากันแห่มาเพื่อจะตักน้ำเอาไปใช้กันแต่ปรากฏว่าพบงู ใหญ่ตัวหนึ่ง
นอนขดอยู่ใต้สังกะสีที่เอาไว้ปิดปากบ่อ ชาวบ้านที่เห็นบอกว่า ลักษณะงูที่เห็นนั้นมีหงอนที่หัวด้วย ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่มีชาวบ้านกล้าเข้าไปตักน้ำที่บ่อนี้ี้อีกเลย

       ที่น่าแปลกอีกก็คือ นายตำรวจท่านหนึ่งซึ่งเคยมาช่วยงานในวัดก็ฝันเห็นหลวงพ่อแดง ท่านมาต่อว่า "ทำอะไรทำไมไม่บอก"

       นายตำรวจก็ไปเล่าให้พระปลัดบุญส่งเจ้าอาวาสรูปปัจจุบ ันฟัง ท่านก็ไม่เชื่อแล้วยังสั่งให้ย้ายศาลเก่า 2 ศาล บริเวณเชิงเขาบันไดอิฐเพื่อปรับปรุงบริเวณ โดยไม่ยอมทำพิธีเซ่นไหว้
เจ้า ที่เจ้าทาง เพราะท่านเป็นคนไม่เชื่อไสยศาสตร์ ปรากฏว่าพอตกเย็นก็เกิดอาการผิดปกติ อยู่ๆ คอก็เริ่มบิดและตัวแข็งไปทั้งตัว ขยับไม่ได้ ชาวบ้านมาเยี่ยมเห็นว่าอาการหนักมากจึงช่วยกัน
พาส่งโ รงพยาบาลเปาโล แต่พอถึงโรงพยาบาล อาการที่เป็นกลับหายราวปลิดทิ้ง และเมื่อเอ็กซเรย์พร้อมตรวจอย่างละเอียดก็ไม่พบว่าเป ็นอะไรเลย และระหว่างที่นอนพักรักษาตัวอยู่
ท่านก็พูดออกมาคนเดียวโดยไม่รู้ตัวว่า

"ของดีมีอยู่ ผ่านไปผ่านมาไม่ใช้ต้นก้ามปูตรงนั้นเป็นบ่อน้ำ ให้ขุดลงไปแล้วจะเจอ มีของดีทำไมไม่รักษา"

ใน ภายหลังที่ออกจากโรงพยาบาลแล้วพระปลัดบุญส่งก็ได้ฝันอีกครั้ง ในความฝันท่านเห็นคนนุ่งผ้าถกเขมรมาหา มาบอกว่าเขาเป็นคนมัดหลวงพ่อเอง พูดแล้วเขาก็เอามือรีดที่ตัวหลวงพ่อเหมือน
รีดเอาไขมันออก ทั้งขาและแขน จนหลวงพ่อพระปลัดบุญส่งสะดุ้งตื่นและพอตื่นขึ้นมาก็ย ังเห็นผู้ชายคนนั้นอยู่ในห้องพอถามชื่อ เขาก็ถอยออกไปแล้วตอบกลับมาว่า "เขาเป็นเปรต" จากนั้น
ก็หายวับกลายเป็นแสงไฟ พร้อมเสียง "วี๊ด" ดังมาก ซึ่งพระในวัดก็ได้ยินกันทั่ว

เรื่อง นี้ได้ทำให้ "พระปลัดบุญส่ง" เจ้าอาวาสวัดเขาบันไดอิฐรูปปัจจุบัน ยังยอมรับว่าไสยศาสตร์และอภินิหารของหลวงพ่อแดงนั้นมีจริงเพราะเจอแล้วด้วย ตัวท่านเอง


ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2502 หลวงพ่อแดงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูญาณวิลาศ

ท่าน มีวิทยาคมขลังเป็นที่นับถืออย่างมาก ในช่วง พ.ศ. ๒๔๗๙ ได้เกิดโรคระบาดอย่างร้ายแรงขึ้นที่จังหวัดเพชรบุรีทำให้วัวควายล้มตายลง เป็นอันมาก ท่านได้ปลุก
เสกผ้ายันต์สีแดงขนาดเท่าผ้าเช็ดหน้าให้ชาวบ้าน นำไปผูกไว้ที่ปลายไม้ไผ่แล้วปักไว้ที่คอกวัวควาย คอกใดที่ผ้ายันต์ของท่านมาปักไว้ วัวควายของคอกนั้นจะไม่เป็นโรคติดต่อ
ชื่อ เสียงของท่านจึงโด่งดังเป็นที่รู้จักแต่นั้นมา มีผู้คนไปขอของดีไว้ป้องกันตัวจากท่านมิได้ขาด ท่านจึงได้ทำผ้ายันต์และตะกรุดไว้แจก ผู้ที่นำตะกรุดและผ้ายันต์ของท่านไปบูชามัก
จะประสบกับอิทธิปาฏิหาริย์อยู่เสมอ


เหรียญรุ่นหนึ่ง เนื้อทองแดง พิมพ์นิยม

เมื่อ วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๒ ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระครูญาณวิลาศ" พร้อมรับพระราชทานสัญญาบัตรพัดยศ ลูกศิษย์จึงได้ทำการฉลองสมณศักดิ์ให้ท่าน
ใน การนี้ท่านได้สร้างเหรียญขึ้นเพื่อแจกจ่ายแก่ผู้มาร่วมงาน นับว่าเป็นเหรียญรุ่นหนึ่งของท่าน เป็นเหรียญทองแดงรมดำ จำนวน ๑๕,๐๐๐ เหรียญ และเป็นเหรียญเงินจำนวน ๘๓ เหรียญ
เท่าจำนวนอายุของท่านที่ย่าง เข้าปีที่ ๘๓ ตัวเหรียญเป็นรูปวงรีคล้ายรูปไข่ ส่วนกว้างที่สุดประมาณ ๒.๖ เซนติเมตร สูงสุดประมาณ ๓.๔ เซนติเมตร เนื้อโละทำด้วยทองแดงรมดำ
ด้าน หน้าบนซ้ายมือมีอักษรปั๊มนูนสูงว่า "พ.ศ. ๒๕๐๓" ทางด้านขวามือมีอักษรเขียนว่า "อายุ ๘๒ ปี" ส่วนด้านล่างเขียนว่า "พระครูญาณวิลาศ (แดง)" ส่วนด้านหลัง ลงหัวใจพระพุทธคุณต่างๆ
ไว้ด้วย ภาษาขอม ตรงกลางด้านหลังลงยันต์สี่ มีหัวขมวด เป็นเหรียญที่ดังมากพุทธคุณมีประสบการณ์สูงทาง คงกระพันชาตรี แคล้วคลาด ปัจจุบันหายากมากๆ


เหรียญรุ่นสอง และ เหรียญรุ่นแจกแม่ครัว เนื้ออัลปาก้า

หลัง จากที่เหรียญรุ่นหนึ่งสร้างประสบการณ์ต่างๆ มากมายจนกิตติศัพท์ความศักดิ์สิทธิเป็นที่เลื่องลือ ผู้คนต่างพากันมาขอเหรียญร่วมทำบุญ จนเหรียญรุ่นหนึ่งหมดไปจากวัด
จึง ได้มีการสร้างเหรียญรุ่นสอง สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ลักษณะองค์หลวงพ่อและอักขระเลขยันต์เหมือนกับเหรียญรุ่นหนึ่ง แต่ต่างกันที่คำว่า "เอ" (ซึ่งเป็นอักษรขอมตำแหน่งล่างสุด)
ของรุ่นหนึ่งจะมีดูคล้าย "ฃ" แต่ของรุ่นสองดูคล้ายเลข "๘" เหรียญรุ่นสองนี้มีประสบการณ์แคล้วคลาดมากมายไม่แพ้รุ่นหนึ่งเลย ในการสร้างรุ่นที่สองนี้ ท่านได้สั่งทำเหรียญขนาดเล็กด้วยอัลปาก้า
เพื่อสำหรับแจกแม่ครัวเรียกว่า "รุ่นแจกแม่ครัว" อีกด้วย


เหรียญรุ่นโจว เนื้อทองแดง

ใน งานฉลองอายุท่านเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ทางวัดได้สร้างเหรียญขึ้นใหม่โดยใช้ข้อความและตัวอักษรเหมือนรุ่นหนึ่ง ทุกอย่าง แต่ใบหน้าหลวงพ่อเปลี่ยนไป ในปีเดียวกันนี้มีพ่อค้าได้สร้างเหรียญ
ขึ้น อีกรุ่นเพื่อนำไปให้ท่านปลุกเสก คราวนี้ได้เปลี่ยนใบหน้าหลวงพ่อให้ชราภาพมากขึ้น ข้อความด้านหน้าเหรียญด้านบนปั๊มคำว่า " พ.ศ. ๒๕๑๐ ที่ระลึกอายุครบรอบ ๘๙ ปี" ด้านล่างปั๊มคำว่า
"พระครูญาณวิลาศ (แดง) " อักษรเลขยันต์ด้านหลังเหมือนรุ่นหนึ่ง แต่ได้ตอกภาษาจีนอ่านว่า " โจว" ไว้ที่ใต้ตัวอุ เหรียญรุ่นนี้มีเนื้อทองคำ นาค เงิน และทองแดงรมดำ เนื้อทองแดงมีจำนวน
๒,๐๐๐ เหรียญ


เหรียญรุ่นแม่ทัพสร้าง เนื้อทองแดง

พ.ศ. ๒๕๑๑ ท่านมีอายุครบ ๙๐ ปี แม่ทัพภาคที่ ๑ ได้ขอให้ท่านทำเหรียญขึ้นอีกรุ่นเป็นรูปอาร์ม เนื้อทองแดงมีจำนวน ๔๘,๐๐๐ เหรียญ ส่วนเนื้อเงินและทองคำ มีจำนวนลดหลั่นลงไป
เหรียญรุ่นนี้เรียกว่า "รุ่นแม่ทัพสร้าง" และยังมีเนื้ออัลปาก้าอีกด้วย


พ.ศ. ๒๕๑๓ คณะนายทหารตำรวจจากโรงเรียนนายร้อย จปร. รุ่น ๑๒
ได้สร้างเหรียญเพื่อเป็นที่ระลึกในการรับราชการครบ ๓๐ ปี
เหรียญรุ่นนี้ท่านได้เซ็นชื่อ "แดง" ไว้
และใช้ตอกเป็นโค๊ดไว้ที่ด้านหน้าของเหรียญ


พระผงญาณวิลาศ

หลัง จากนั้นทางวัดได้สร้างเป็นพิมพ์พระสมเด็จและนางพญามีทั้งหมด ๓ พิมพ์ ๓ สี คือ สีเหลือง แดงและดำ ด้านหลังปั๊มยันต์และอักขระของหลวงพ่อ เรียกว่า "พระผงญาณวิลาศ"
พิมพ์สมเด็จมีสีแดง สีเหลือง สีขาว พิมพ์ใหญ่จะมีขนาดกว้าง ๒.๒ เซ็นติเมตร สูง ๓.๖ เซ็นติเมตร นอกจากนี้ยังมี "พิมพ์คะแนน" ที่มีขนาดเล็กลงมา ทำขึ้นสำหรับคั่นเวลานับจำนวน
พิมพ์ใหญ่ ได้ครบทุก ๑๐๐ องค์ พระผงรุ่นนี้มีประสบการณ์มากมาย แม้กระทั่งตำรวจพลร่มโดดร่มลงมาแต่ร่มไม่กาง แต่กลับรอดตายราวปาฏิหาริย์โดยในคอแขวนพระผงญาณวิลาศ
ของหลวงพ่อแดงนั้นเอง


เหรียญรุ่นคุกเข่า และ เหรียญสองพี่น้อง(โบสถ์ลั่น)

วัตถุ มงคลของท่านยังมีอีกหลายรุ่น เช่น ยุวพุทธิกสมาคม ชลบุรี สร้างรุ่นพิเศษ "ไตรภาคี" เนื้อผงสีแดง พิมพ์พระแก้วมรกต พระพุทธสิหิงค์ และพระพุทธชินราช นำมาให้ท่านปลุกเสก ,
รุ่นวัดเทพธิดา (หลังโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย ) สร้าง , เหรียญรุ่นที่มีรูปท่านกับหลวงพ่อเจริญที่เรียกว่า "เหรียญสองพี่น้อง" ที่สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ , เหรียญที่มีรูปท่านเต็มองค์นั่งคุกเข่า
อยู่ด้านหน้าเหรียญ เรียกว่า "เหรียญคุกเข่า" ที่สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗


ข้อมูลประวัติหลวงพ่อแดง

เกิด                     ปี พ.ศ.2421  เดือนเมษายน ปีระกา ณ บ้านามเรือน  เพชรบุรี  เป็นบุตรของ นายแป้น  นางนุ่ม  อ้นแสง
อุปสมบท               ประมาณปี พ.ศ.2441  ณ วัดเขาบันไดอิฐ
มรณภาพ               วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ.2517  ตรงกับแรม 8 ค่ำ เดือน 2 ปีขาล
รวมสิริอายุ            95 ปี


วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม

วัตถุมงคลของท่านมีหลายรุ่น เช่น
เหรียญรุ่นแรก ปี 2503 มี 2 เนื้อ คือ เนื้อเงิน  เนื้อและทองแดง
เหรียญรุ่นสอง ปี 2507 ลักษณะคล้ายกับรุ่นแรก
เหรียญรุ่นตระกูลโจว ปี 2510  ที่ระลึกครบรอบ 89 ปี
เหรียญรุ่นแม่ทัพภาค ปี 2511 , ปี 2513
เหรียญรุ่น จ.ป.ร.12
พระผงญาณวิลาศ มีหลายพิมพ์และหลายเนื้อ


พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา

พุทธคุณในวัตถุมงคลของท่านเด่นทาง   เมตตามหานิยม









ประวัติวัดเขาบันไดอิฐ

วัด เขาบันไดอิฐ  แต่เดิมเคยเป็นสำนักสงฆ์เก่าแก่มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย มามีฐานะเป็นวัดในสมัยกรุงศรีอยุธยา อยู่ใน ต.ไร่ส้ม อ.เมือง จ.เพชรบุรี บนเขาบันไดอิฐแห่งนี้มีถ้ำอยู่มากมาย
มีหลักฐานว่าในแผ่นดินพระบรมราชา ที่ 2 พระเชษฐาธิราช พ.ศ.2171 "พระศรีศิลป์" ซึ่งเป็นเชื้อสายพระเจ้าทรงธรรม ได้ถูกจับกุมและถูกเนรเทศจากอยุธยามาคุมขังอยู่ที่ถ้ำเขาบันไดอิฐแห่งนี้
เพราะคิดคดซ่องสุมผู้คน คิดแย่งชิงราชสมบัติ แต่แผนการได้รั่วไหลออกมาเสียก่อน

เมื่อ "พระศรีศิลป์" มาถูกจองจำที่นี่ก็ได้มี "หลวงมงคล" ซึ่งเป็นพระญาติทางฝ่ายมารดาของพระศรีศิลป์ คุมบ่าวไพร่ มาทำการขุดเจาะถ้ำ ทางด้านอื่นให้ทะลุติดต่อกันหลายถ้ำจนถึงถ้ำใหญ่
ที่คุมขังพระศรีศิลป์ ซึ่งมีแผ่นกระดานตีปิดปากถ้ำ และมีทหารเฝ้ายามคอยส่งอาหารและน้ำ ใส่ตะกร้าหย่อนลงไปให้ ปรากฏว่าอาหารและน้ำไม่มีใครแตะต้องคงอยู่ตามเดิม ตะโกนเรียกก็ไม่มี
เสียงขานรับ ก็คิดว่าพระศรีศิลป์สิ้นพระชนม์ไปแล้ว จึงรายงานให้ทางกรุงศรีอยุธยาทราบและมีคำสั่งให้ถมดินปิดปากถ้ำเสีย

"พระ ศรีศิลป์" เมื่อลอบออกจากถ้ำมาได้ ก็หลบซ่อนตัว ซ่องสุมผู้คน และทหารทำการขบถต่อแผ่นดิน ตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ที่เพชรบุรี แต่ต่อมาได้ถูกจับตัวส่งกลับไปกรุงศรีอยุธยาและถูกสำเร็จโทษ

ตาม ประวัติ ศาสตร์กล่าวว่า "พระอาจารย์แสง" เป็นพระอาจารย์ของ "พระเจ้าเสือ" สอนทางเวทย์มนต์คาถา และเหตุที่พระอาจารย์ธุดงค์มาอยู่ที่วัดเขาบันไดอิฐก็เพราะน้อยใจที่กล่าว ตักเตือน
พระเจ้าเสือไม่ให้ประพฤติในทางโหดร้ายต่อสตรีไม่ได้ พระอาจารย์แสงเห็นว่าพฤติกรรมเช่นนี้ กษัตริย์ไม่ควรทำ เพราะจะทำให้ความขลังของวิชาที่เรียนมาเสื่อมลงด้วย

"พระเจ้าเสือ" พระองค์นี้มีนิสัยดุดัน ชอบหมกมุ่นในกามราคะ ชอบฆ่าสัตว์ แต่ทรงพระปรีชาสามารถในทางไสยศาสตร์ เวทย์มนต์คาถา ไพร่ฟ้าประชาชนเกรงกลัวมาก จึงขนานนามพระองค์ว่า
"พระเจ้าเสือ" (ขุนหลวงสรศักดิ์) มีบันทึกอยู่ในพงศาวดารความว่า

"พอ พระทัยเสวยน้ำ จัณฑ์ และเสพสังวาสด้วยดรุณีอิตถี อายุ 11-12 ปี ถ้าสตรีใดโยกโคลงไปทรงพระโกรธ ลงพระอาญาถองยอดอกตายคาที่ ถ้าสตรีได้ไม่ดิ้นเสือกโคลงนิ่งอยู่ชอบอัชฌาลัย
พระราชทานบำเหน็จรางวัล ประการหนึ่ง ถ้าเสด็จไปประพาสมัชฉาชาติฉนากฉลามทางชลมารค ทรงทะเลเกาะสีชัง เขาสามมุข และประเทศใดย่อมเสวยน้ำจัณฑ์ไปพลาง ถ้าหมู่พระสนมนิกรนางไน
และ มหาดเล็กชาวที่ทำให้เรือพระที่นั่งโคลงไหวไปมิได้ มีวิจารณปราศจากพระกรุณาญาณ ลุอำนาจแก่พระโทโส ดำรัสสั่งให้เอาผู้นั้นเกี่ยวเบ็ดท้างไปในทะเล ให้ปลาฉลากฉลามกินเป็นอาหาร
ประการหนึ่งปราศจากเบญจางคิกศีลมักพอพระทัย ทำอนาจารเสพสังวาสกับภรรยาขุนนาง แต่นั้นมาปรากฏเรียกว่า "พระเจ้าเสือ"

ครั้ง ที่พระเจ้าเสือเสด็จมาเยือนเมืองเพชร พระองค์โปรทราบเบ็ดโดยเรือพระที่นั่งพายในท้องที่ ต.บางตะบูน อ.บ้านแหลม กรรมการเมืองเพชรสมัยนั้นได้จัดสร้างพลับพลารับเสด็จไว้ที่บ้านคุ้งตำหนัก
และ ตามตำนานยังมีเรื่องเล่าต่อๆกันมาว่า พระเจ้าเสือได้ประกาศเป็นกฎหมายไม่ให้ราษฎรจับปลาที่พระองค์ทรงโปรด ปลาที่พระองค์ทรงโปรดมากคือปลาตะเพียน และปลาหมอ

นอกจากพระเจ้าเสือ จะเสด็จมาเมืองเพชร เพื่อตกปลาและคล้องช้างแล้ว พระองค์ยังมีพระประสงค์เพื่อขอร้องให้พระอาจาร์แสงกลับไปกรุงศรีอยุธยาด้วย แต่ก็ไม่สำเร็จ อาจารย์แสงไม่ยอมกลับ
พระองค์จงจนพระทัยยอมพระอาจารย์ แต่ก็โปรดฯให้บูรณะซ่อมแซมวัดเขาบันไดอิฐขึ้นใหม่ให้สวยงามหลายอย่าง วัดจึงเจริญรุ่งเรือง

และ ในสมัยโบราณก็ถือเป็นประเพณีและวัฒนธรรมที่ วัดจะต้องมีเกจิอาจารย์หรือพระสงฆ์ที่เชี่ยวชาญทางด้านอาคม รวมถึงเก่งทางวิปัสสนาหรือทางใน ซึ่งจะต้องมีการถ่ายทอดให้แก่ศิษย์ใกล้ชิด
เหมือน ที่วัดเขาบันไดอิฐ เพราะปรากฏยืนยันเป็นหลักฐานได้ว่าวัดเขาบันไดอิฐยังมีพระอาจารย์ชื่อว่า "เหลือ" เป็นพระมีเวทย์มนต์ขลังมาก ผู้คนนับถือเยอะ เล่ากันว่าในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อทหารเมืองเพชรจะออกรบจะต้อง มาขอผ้ายันต์และตะกรุดโทน หรือไม่ก็สักยันต์ลงกระหม่อม รดน้ำมนต์เพื่อเพิ่มความขลังให้รอดปลอดภัยกลับมา


วัดเขา บันไดอิฐยังมีประวัติและเรื่องราวอีกว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายระหว่าง พ.ศ.2240-2249 รัชกาลของพระพุทธเจ้าเสือ มีพระภิกษุรูปหนึ่งนามว่า "พระอาจารย์แสง" เคยบวชอยู่ที่
วัดมเหยงค์ กรุงศรีอยุธยา เป็นพระภิกษุที่มีเวทย์มนต์ขลัง เชี่ยวชาญทั้งในพุทธศาสตร์และไสยศาสตร์ การวิปัสสนากัมมัฏฐาน ซึ่งได้ธุดงค์มาพักที่วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี "พระอาจารย์แสง"
จำพรรษาอยู่ ณ ที่แห่งนี้จนมรณภาพ เพราะเห็นว่าเป็นสถานที่ซึ่งสงบ วิเวก เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม (ในสมัยรัตนโกสินทร์ สุนทรภู่ก็เคยมาเยือนที่วัดเขาบันไดอิฐ และได้ร้อยกรองถึงสถานที่นี้ไว้ใน
"นิราศเมืองเพชร")


สถานที่น่าสนใจ

หน้าบัน พระอุโบสถ วัดนี้เป็นวัดที่มีชื่อเสียงทางด้านความงามของศิลปะปูนปั้นชั้นครูที่ฝากผล งานไว้เหนือหน้าบันพระอุโบสถ เป็นลายปูนปั้นที่งดงามงามสกุลช่างเมืองเพชร เป็นรูปลายกนก
เปลวพลิ้วล้อมรูปครุฑ ถ้า วัด เขาบันไดอิฐมีถ้ำหลายแห่งที่น่านำชมโดยถ้ำแรก คือ “ถ้ำประทุน” มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ตามผนังถ้ำทั้งสองด้าน ลึกเข้าไปจะเป็นถ้ำ “พระเจ้าเสือ” ที่ชื่อ
เช่นนี้เพราะมีเรื่องเล่ากันมาว่า พระเจ้าเสือได้เสด็จมาหาอาจารย์แสง และได้ถวายพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทรประดิษฐานไว้ในถ้ำแห่งนี้ ถัดจากถ้ำนี้เข้าไปทางด้านใต้จะมีถ้ำพระพุทธไสยาสน์
จะมีพระนอนองค์ใหญ่ ประดิษฐานอยู่ และตรงซอกผนังถ้ำมีประทุนเรือทำด้วยไม้เก่าแก่มาก เป็นประทุนเรือที่พระเจ้าเสือถวายอาจารย์แสง นอกจากถ้ำทั้งสามนี้แล้ว ยังมีถ้ำอื่น ๆ เช่น ถ้ำพระอาทิตย์
ถ้ำพระจันทร์ ถ้ำสว่างอารมณ์ ถ้ำช้างเผือก และถ้ำดุ๊คซึ่งมีชื่อตามดุ๊คโยฮันฮัลเบิร์ต ผู้สำเร็จราชการเมืองปอร์นสวิค (Braunschweig) ประเทศเยอรมัน ผู้เคยมาเยือนเพชรบุรีและมาเที่ยวถ้ำแห่งนี้


ที่ตั้งและการเดินทาง

ไปตามทางหลวงหมายเลข 4 และเลี้ยวขวาเข้าทางหลวง 3171 ห่างจากเขาวังประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นเขาขนาดย่อมมียอดสูง 121 เมตร




เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี ปี ๒๕๐๓



ตำหนิเหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี ปี ๒๕๐๓
เหรียญ รุ่นแรกหลวงพ่อแดงวัดเขาบันไดอิฐ นับได้ว่าเป็นเหรียญที่สร้างหลังปี ๒๕๐๐ ที่มีความโด่งดังมาก เพราะมีพลังพุทธคุณที่ล้ำเลิศโดดเด่นทางด้านคงกระพันชาตรีมากนั่นเอง
เหรียญ รุ่นนี้มีการสร้างด้วยเนื้อเงินและเนื้อทองแดงเท่านั้น เนื้อเงินมีประวัติว่าสร้างน้อยมากจึงมีราคาที่สูงมากสวยๆ ณ.เวลานี้น่าจะทะลุล้าน(๑๘ ส.ค.๒๕๕๒)บาทขึ้นไปแล้ว
เนื้อทองแดงก็เล่น กันที่หลักแสนจะกี่แสนก็ขึ้นอยู่กับความสวยงาม การดูง่าย และอยู่กับใครอีกทีหนึ่ง จุดตำหนิที่นำมาเสนอนี้ค่อนข้างจะแตกต่างกับหนังสือชี้ตำหนิพระที่วางขาย
ทั่ว ไปซักหน่อยเพราะว่าเป็นตำหนิจุดตายของเซียนพระที่เขานำมาตัดสินชี้ขาด กล้าซื้อ กล้าขายกันเลยทีเดียว รับรองว่าถ้าเหรียญของคุณมีตำหนิตรงจุดที่ชี้ให้นี้ก็แท้ไปมากกว่า
เก้าสิบเปอร์เซ็นต์แล้วครับ (ถ้าคุณไม่ดูแบบเข้าข้างตัวเองนะ)

ตำหนิเหรียญหลวงพ่อแดงด้านหน้า

๑.ให้ ดูที่บริเวณหูเหรียญหลวงพ่อแดงจะมีเส้นแซมอยู่ใต้หูเหรียญมีลักษณะเป็นเส้น ตรงคมๆพาดขวางอยู่ บางเหรียญจะมีรอยบากคล้ายโดนมีดสับตรงด้านข้างหูเหรียญพอดี
๒.คำว่า”อายุ” ตรง อ.อ่าง ปลายจะสะบัดขึ้นและมีลักษณะเรียวแหลม ภายในตัว อ.อ่างตรงปลายจะมีเส้นซ้อนอยู่ด้านใน
๓.บริเวณ เหนือศรีษะหลวงพ่อด้านขวามือเราบางเหรียญจะมีรอยบากเข้าไปในเนื้อ เหรียญ(คล้ายเหรียญหลวงปู่ทวดรุ่นแรกเพียงแต่อยู่คนละด้าน) และมีเส้นเรียวบางโค้งขึ้นจากศรีษะ
   เป็นเส้นเล็กๆต้องใช้กล้องส่องดูถึงจะเห็นได้ชัด ของเลียนแบบจะทำจุดนี้ไม่เหมือนถ้าไม่บางเกินไป ก็ใหญ่เกินไปดูไม่พลิ้ว
๔.บริเวณ ผ้าสังฆาฏิบนไหล่ซ้ายหลวงพ่อแดงจะมีเส้นอยู่สองเส้นตีคู่กันเป็นแนวยาวและ บางเหรียญจะมีร่องบากอยู่หนึ่งร่อง ต้องใช้กล้องส่องดูจึงจะเห็นได้ชัดเจน เหรียญเลียนแบบมัก
   จะไม่มีเส้นนี้ปรากฏให้เห็น
๕.บริเวณตัวอักษรคำว่า”พระ”จะมีเส้นขอบจีวรแทงทะลุสระอะเป็นเส้นคมๆ ซึ่งเหรียญเลียนแบบมักจะถอดออกมาไม่ดีดูเบลอๆ


ตำหนิเหรียญหลวงพ่อแดงด้านหลัง

๑.หู เหรียญด้านหลังจะมีเส้นขีดขวางเป็นแนวยาวอยู่หลายเส้นข้างหูเหรียญและมี เนื้อปลิ้นเนื้อเกินอยู่เป็นเอกลักษณ์ของเหรียญปั๊มยุคหลังปี ๒๕๐๐ จะมีตำหนิลักษณะนี้อยู่ทุกเหรียญ
๒.อักขระด้านบนขวามือของเรา ใต้อักขระจะมีเม็ดไข่ปลาเม็ดเล็กๆอยู่หนึ่งเม็ด ซึ่งเม็ดไข่ปลาเม็ดนี้จะมีความคมชัดมาก
๓.ขอบ เหรียญด้านหลังจะมีรอยตัดเขยื้อนอยู่ อาจมีเนื้อปลิ้นเป็นบางเหรียญ บางเหรียญเนื้อเหรียญด้านล่างจะเยอะกว่าด้านบน เนื้อของขอบเหรียญจะไม่เท่ากันทุกเหรียญขอบเหรียญ
   ด้านใดมีเนื้อเยอะอีกด้านจะมีเนื้อน้อยกว่าเสมอ
๔.หากเหรียญใดใช้จนสึกเนื้อเหรียญจะดูไม่เข้ากันมีลักษณะเป็นเกล็ดประกายเม็ดเล็กๆ


องค์นี้น่าจะเก้ใช่มั๊ยครับ ?


พระกันทรวิชัย



ประวัติพระพิมพ์กันทรวิชัย

            พระกันทรวิชัย เป็นพระพิมพ์ดินเผา ปางสมาธิเพชร เท่าที่ขุดพบมี 3 ขนาด คือพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก มีลักษณะสวยงามเป็นเลิศเมื่อเทียบกับพระพิมพ์อื่นๆ เท่าที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เช่น ที่เมืองฟ้าแดดสูงยาง ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และที่นครจำปาศรี อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ผลจากการค้นคว้าวิจัยปรากฏว่าพระพิมพ์ดินเผาจากอำเภอกันทรวิชัย โดยเฉพาะพิมพ์ใหญ่ปางสมาธิเพชร จะมีขนาดกว้าง 5 นิ้วครึ่ง สูง 8 นิ้ว มีลักษณะสวยงาม และมีคุณค่าทางศิลปะสูงยิ่งเป็นพุทธศิลปะสมัยคุปตะหรือสมัยปาลวะในราวปี พ.ศ. 963 – 1325 ซึ่งพุทธศิลปะสมัยคุปตะหรือปาลวะมีประวัติความเป็นมาดังนี้

            สกุลศิลปะคุปตะ (Gupta School) ประมาณ พ.ศ. 813 – 1190 สกุลศิลปะคุปตะถือเป็นสกุลศิลปะสูงส่ง (Classic Art) ของอินเดีย ทั้งในด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรมและศิลปะอื่นๆ โดยเฉพาะสกุลศิลปะทางพระพุทธรูปแล้ว ถือว่ามีสัดส่วนและการแสดงออก เหนือกว่าสกุลศิลปะใดๆ ถ้าหากจะได้พิจารณาดูลักษณะของพระพุทธรูปในสกุลศิลปะคุปตะ อย่างลึกซึ้งแล้ว จะเห็นว่าพระพุทธรูปในสกุลนี้มีจิตใจแฝงอยู่ภายใน เป็นจิตใจในการสร้างศรัทธาเลื่อมใสทางศาสนาประกอบจิตใจของวรรณคดี และการดนตรีรวมกันไปด้วย จึงถือเป็นสกุลศิลปะที่เต็มไปด้วยอุดมคติอย่างสมบูรณ์ มีศูนย์กลางอยู่ที่ภาคเหนือของอินเดีย ศิลปวัตถุในสกุลนี้ได้เข้าสู่ประเทศไทยโดยพบหลักฐานกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย

            สกุลศิลปะปาลวะ (Pallava School) ประมาณ พ.ศ. 900 – 1300 ความจริงสกุลศิลปะ ปาลวะได้เริ่มมาในระยะใกล้เคียงกับสกุลศิลปะคุปตะ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ทางตอนใต้ของอินเดีย ศิลปะสกุลนี้ได้พัฒนาการไปจากสกุลอันทราอมราวดีและคุปตะ พระพุทธรูปต่างๆ ที่สร้างขึ้นด้วยฝีมือสกุลนี้ มีส่วนอ่อนช้อยประกอบด้วยเส้นโค้งมากกว่าสกุลศิลปะคุปตะ ซึ่งถือรูปทรงส่วนละเอียดเป็นไปในทางอุดมคติ และสัญลักษณ์ร่วมกัน และมีความเคร่งขรึมมากกว่า ดังนั้นในประวัติการสร้างพระพุทธรูปในอินเดียสกุลนี้เป็นพระพุทธรูปที่มีความอ่อนช้อยละมุนละไมเป็นครั้งแรก ลักษณะ พระพักตร์เป็นรูปทรงไข่และมีความอูมแต่งเป็นพิเศษ พระหนุ 2 ชั้น ในส่วนพระวรกายก็เพิ่มเส้น รอบนอกมีเส้นโค้งทั้งด้านหน้าและด้านข้างอย่างชัดเจน ศิลปะปาลวะได้เข้าสู่ประเทศไทยพร้อมกับคณะเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทำให้มีพระพุทธรูปและเจดีย์ตามแบบศิลปะสกุลปาลวะปรากฏอยู่ในประเทศไทยมากที่สุด

                              ประวัติพระพิมพ์กันทรวิชัย  เป็นพระปางสมาธิเพชร ในสมัยศิลปะปาลวะหรือคุปตะตอนปลาย มีความเก่าแก่ประมาณประมาณ ๑,๓๐๐ ปี ขุดพบที่อำเภอโคกพระ ปัจจุบัน คือ อำเภอกันทรวิชัย เป็นพระพิมพ์ที่มีคุณค่าทางศิลปะและปรัชญาธรรมอย่างสูงยิ่ง กล่าวคือ มีลักษณะแสดงถึงเชื้อชาติความเป็นชาวพื้นเมืองอย่างเด่นชัด มีพระพักตร์อิ่มเอิบบริสุทธิ์ แสดงถึงความหลุดพ้นจากกาลเวลา

ที่มา: http://www.taksilanakhon.com/wizContent.asp?wizConID=153&txtmMenu_ID=7

พระครูคงคนครพิทักษ์ (หลวงพ่อคง)


    ประวัติและวัตถุมงคล พระครูคงคนครพิทักษ์ (คง ฐิติปัญโญ)
พระครูคงคนครพิทักษ์ (คง ฐิติปัญโญ)

         เมื่อ ปี พ.ศ.2523 หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ลงข่าว ผู้หญิงถูกผู้ชายยิงในตรอกหลักหินใกล้หัวลำโพง สาเหตุที่สมาคนเก่าเกิดความแค้นที่อดีตภรรยาเดินคู่กับสามีคนใหม่ แต่ลูกปืนที่ยิงผู้หญิงนั้นยิงไม่เข้า เมื่อดูในคอจึงรว่ามีเหรียญของหลวงพ่อคงห้อยคอเพียงองค์เดียวเท่านั้น เป็นเหรียญเสมาด้านหลังนางกวัก เป็นเหรียญรุ่นแรกของท่าน จากข่าวที่ลงในหน้าหนังสือพิมพ์รายวันทำให้คนจากหลาย ๆ จังหวัดที่มีความเลื่อมใสเดินทางไปยังวัดเพื่อบูชาเหรียญของท่าน ปรากฏว่าช่วงนั้นพระเครื่องของท่านมีไม่กี่รุ่นได้หมดไปจากวัดในเวลาอันรวด เร็ว และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาผู้คนก็เดินทางไปหากันไม่เคยขาด พระเครื่องของท่านได้จัดสร้างกันมาตลอดเวลา และแต่ละรุ่นนั้นก็มีประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ เป็นที่กล่าวขานถึงบุญญาอภินิหาร
     
        พระอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ศึกษาธรรมะ และเล่าเรียนวิชาอาคมขลังเอาไว้ช่วยเหลือผู้คนที่มีความเดือนร้อน นับว่าเป็นความโชคดีอย่างมากที่สมัยนี้การเดินทางนั้นสะดวกรวดเร็ว อีกทั้งข่าวสารก็ช่วยกันเผยแพร่ให้คนรู้จัก จากวัดตะคร้อที่มีสิ่งก่อสร้งไม่มากมายอะไรนักก็เจริญขึ้นมาใหญ่โตมากในระยะ เวลาไม่กี่ปีเท่านั้น เมืองโคราช หรือนครราชสีมานี้ อดีตนั้นเคยมีผู้หญิงกล้า พระอาจารย์ในอดีตที่ผ่านมานับเป็นร้อย ๆ รูปที่ทรงคุณวิเศษในด้านต่าง ๆ ก็มากมายและศิษย์ก็ได้รับการสืบทอดวิชานั้นเอาไว้จนมาถึงปัจจุบัน
ชาติภูมิ นามเดิมว่า คง นามสกุล เทพนอก เกิดเมื่อปีกุน พ.ศ.2454 ที่บ้านดอนเมือง อ.คง พ่อของท่านชื่อ พูน แม่ของท่านชื่อ แย้ม ท่านเป็นลูกชายคนโตในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 8 คน พ.ศ.2471 ท่าบวชเป็นสามเณร พ.ศ.2475 ก็บวชเป็นพระต่อเลยที่ วัดบ้านวัด ต.เทพาลัย อ.คง จ.นครราชสีมา พระครูศรีวิสุทธิพรต วัดเดิม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สุข เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ทิม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ภายหลังบวชไปอยู่วัดแจ้งนอกในตัวเมืองโคราชเพื่อเล่าเรียนด้านธรรมะ และเดินทางไปอยู่ที่วัดหนองจะบก สองปีที่ผ่านมาอยู่วัดนี้เพื่อสะดวกในการเดินทางไปเรียนหนังสือและศึกษาด้าน ธรรมะที่ วัดบึง อันเป็นสำนักยิ่งใหญ่ในสมัยนั้น ได้นักธรรมเอกและติดตามพระอาจารญ์ของท่านไปอยู่อีกหลายวัด และเดินทางเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ นอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค จากสำนักวัดบวรนิเวศวิหาร แล้วไปอยู่ที่บัวใหญ่ ต่อจากนั้นก็ไปอยู่วัดตะคร้อเมื่อปี พ.ศ.2495 พ.ศ.2496 ท่านเป็นเจ้าคณะอำเภอและเป็นพระอุปัชฌาย์

         พระอาจารย์ที่ถ่ายทอดวิชาอาคมขลังให้ ท่านมีดังนี้ หลวงพ่อเสี่ยง วัดเสมาใหญ่ หลวงพ่อรอด วัดดอนผวา หลวงพ่อเขียว วัดปอปิด แต่ละรูปนั้นในด้านคุณวิเศษของท่านแล้วยอดเยี่ยมที่สุดสมัยนั้น แต่ละรูปเหรียญหรือพระเครื่องของท่านล้วนแต่ราคาแพงมากด้วย

          หลวงพ่อคงท่านเป็นพระที่สร้างความ เจริญให้กับวัดตะคร้อเป็นอย่างมาก พระเครื่องของท่านนั้นมีไม่ต่ำกว่า 50 รุ่น คิดเอาเถอะครับว่าพระบ้านนอกอยางนั้นถ้าไม่แน่จริงแล้วคงไม่มีการสร้างพระ เครื่องมามากขนาดนั้น แต่ด้วยความศรัทธาของประชาชนที่มีพระเครื่องของท่านติดตัวแล้วมีประสบการณ์ ในด้านต่าง ๆ นั่นเอง