พระสมเด็จบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่
1.พิมพ์พระกรตรงเกศตรง (แขนตรงเกศตรง)
2.พระกรตรงเกศเอียง (แขนตรงเกศเอียง)
3.พระกรโค้ง (แขนโค้ง)
4.พระกร กว้าง (แขนกว้าง)
5.พระอุระเล็ก (อกเล็ก)
6.พระอุระตัววี (อกตัววี)
7.พระพักตร์เล็ก (หน้าเล็ก)
8.พิมพ์ลึก
9.พิมพ์ตื้น
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่ ส่วนพิมพ์ใดราคาค่านิยมสูงกว่า ขอเรียนว่าเท่าเทียมกัน อยู่ที่สภาพขององค์พระหากสมบูรณ์มาก ค่านิยมก็จะสูงไปตาม “สภาพองค์พระ” ดังนั้นการชี้จุดสังเกตวันนี้จึงขอนำ “พิมพ์ใหญ่เกศตรง” มาชี้จุดเพื่อเป็นหลักต่อการสังเกตเนื่องจาก “พระพุทธลักษณะ” โดยรวมของ “พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่” ส่วนมากจะคล้ายกันซึ่งที่นำมาชี้จุดสังเกตนี้เป็น “พระกรุ เก่า” ที่จัดได้ว่าสภาพ “สมบูรณ์ที่สุด” องค์หนึ่งปัจจุบันอยู่ในความครอบครองของนักสะสมไฮโซ “ปรีดา อภิปุญญา” ที่มีวาสนาได้ครอบครองพระตระกูลนี้หลายองค์หลายพิมพ์
1. เส้นขอบองค์พระ ทั้งสี่ด้าน ซ้าย-ขวา-บน-ล่าง เฉพาะองค์ที่พิมพ์ติดชัดและไม่ผ่านการจับต้องมาก จะสังเกตเห็นเป็นเส้นนูนเรียวเล็กเช่นกันกับ “พระสมเด็จวัดระฆัง” เนื่องจากการสร้าง “แม่พิมพ์” นายช่างนำ “พระสมเด็จวัดระฆัง” มาเป็นแม่แบบ”
2. “เส้นซุ้ม” ลักษณะก็เป็นแบบ “หวายผ่าซีก” ที่กลมใหญ่โดยเส้นโค้ง ด้านขวาองค์พระ จะมีความชันกว่า ด้านซ้ายส่วน “พระเกศ” (ผม) จะเป็น “เส้นตรง” และปลายเรียวจรดเส้นซุ้มอันเป็นที่มาของชื่อ “พิมพ์ใหญ่แขนตรงเกศตรง” ส่วน “พิมพ์ใหญ่แขนตรงเกศเอียง” ให้สังเกต “พระเกศ” จะเอียงไปทางด้านขวาเล็กน้อย
3. “พระพักตร์ (หน้า) ลักษณะคล้ายผลมะตูมและในองค์ที่พิมพ์ติดชัดจะสังเกตเห็น “พระกรรณ” (หู) ที่ด้านซ้ายส่วน “พระกัจจะ” (รักแร้) ด้านซ้ายจะสูงกว่าด้านขวาเล็กน้อยและ “พระกร” (แขน) ทั้งสองข้างทิ้งดิ่งลงมาประสานกันเป็นรูป “ตัวยู” โดยพระกรซ้ายจะเป็น “เส้นตรง” ส่วนพระกรขวา “กางออก” เล็กน้อยจึงเป็นอีกที่มาของการเรียกชื่อ “พิมพ์ใหญ่แขนตรงเกศตรง”
4. “พระอุระ” (อก) กว้างนูนเด่นรับกับ “พระอุทร” (ท้อง) ที่เรียวเล็กลงได้อย่างสวยงามทำให้มีลักษณะคล้ายกับ “ตัววี” ที่ทอดลงไปจรดกับวงพระกรที่เป็นรูป “ตัวยู”
5. “พระเพลา” (ตัก) นูนหนาใหญ่ยาวประทับนั่งสมาธิราบและปรากฏ “เส้นชายจีวร” ที่พาดจาก “พระกัปปะระซ้าย” (ศอกซ้าย) ทอดลงไปยังพระเพลาซ้ายอันเป็นที่มาของชื่อ “พิมพ์ใหญ่” เช่นกันกับ “พระสมเด็จวัดระฆัง”
6. ฐานที่มี 3 ชั้น ยาวกว่าพระเพลาเล็กน้อยโดย “ฐานชั้นแรก” ลักษณะเป็นแท่งหนาใหญ่และ ยาวกว่าฐานชั้นอื่น ๆ “ฐานชั้นที่สอง” จะเล็กลงและสั้นกว่าฐานชั้นแรก โดยปลายทั้งสองข้างมีลักษณะเป็นฐานสิงห์ส่วน “ฐานชั้นที่สาม” ก็จะเล็กและสั้นกว่าฐานชั้นที่สอง ลักษณะเป็นเส้นตรงที่ยาวขนานกันกับพระเพลา.
ที่มา : พุทธธัสสะ
ขอบพระคุณมากๆครับผมได้ความรู้เป็นอย่างมากเลยครับ
ตอบลบ