สวัสดีเพื่อนๆที่เข้ามาเยี่ยมชม Blog แห่งนี้ครับ

เนื่องจากบล็อกแห่งนี้ทำขึ้นเพื่อเป็นการนำเสนอพระเครื่องที่ผมเก็บสะสมไว้เอง แล้วยังรวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับพระเครื่องและสถานที่ ที่น่าสนใจต่างๆ เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่สามารถศึกษาได้ ซึ่งหากข้อมูลใดผิดพลาด เพื่อนๆสามารถช่วยกันเพิ่มเติมแก้ไขทางกระทู้ของแต่ละหน้าได้นะครับ ..
โฆษณาของคุณตรงนี้ ขนาด 750 X 200 px 500บาท/เดือน สนใจติดต่อ RarePra@Hotmail.com 08-0411-3348(คุณป๊อป)
จำหน่ายเสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬา ยาสมุนไพรหมอเส็ง
พื้นที่โฆษณา 4 ขนาด 150 X 100 px 200บาท/เดือน RarePra@Hotmail.com 08-0411-3348
พื้นที่โฆษณา 5 ขนาด 150 X 100 px 200บาท/เดือน RarePra@Hotmail.com 08-0411-3348

สนใจเช่าพระจากเว็บนี้ Line Id: poppyniwa








ตำหนิของ พิมพ์พระท่ากระดาน กรุศรีสวัสดิ์ (กรุเก่า)
1. ขาที่วางซ้อนกันมีรอยขาดทั้งสองข้างเกิดจากตำหนิของแม่พิมพ์
2. มือที่วางบนตักระหว่างนิ้วโป้งกับนิ้วชี้มีร่องเล็กน้อย
3. ลูกตาขององค์พระคล้ายผลมะปรางและเฉียงขึ้นเล็กน้อย
4. ปรากฎรักยิ้มขององค์พระที่มุมปากทั้งสองข้าง
5. มีไขแซมขึ้นจากเนื้อองค์พระ
6. มีการยุบตัวของตะกั่วเกิดจากความเก่าของตะกั่วเพราะมีอายุหลายร้อยปี

พระท่ากระดาน กรุศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี พระท่ากระดาน เป็นพระที่ถูกสร้างในสมัยอู่ทอง คือ ประมาณปี พ.ศ.1800 ถึง พ.ศ.2031 เป็นพระเครื่องที่มีลักษณะแบบนูนสูง คือ มีภาพด้านหน้าด้านเดียว ด้านหลังแบนเรียบ และจะเน้นส่วนนูนสูงและส่วนลึก

พระท่ากระดานเป็นพระประติมากรปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบมีสังฆาฏิแบบสี่เหลี่ยมกว้างหนายาวจรดลงมา มีฐานหนา ซึ่งเรียกว่า ฐานสำเภาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระยุคอู่ทอง พระเกศยาวใบหน้าลึก ลักษณะคล้ายยิ้มแบบเครียดๆเป็นลักษณะแบบอู่ทองเกศของพระท่ากระดานนั้น สันนิษฐานว่าจะทำเป็นเกศยาวทุกองค์และตรงขึ้นไป เกี่ยวกับอายุมากและอยุ่ใต้ดินถูกทับถมเลยทำให้ปลายเกศซึ่งมีความบอบบางอาจ หักชำรุดหรือคดงอ เลยทำให้ปลายเกศของพระท่ากระดานมีหลายลักษณะ คือ เกศยาวตรงเลยเรียกว่า “พิมพ์เกศตรง” ส่วนเกศที่คดไปคดมาเพราะเกิดจากการบิดงอรือถูกทับบิดไปเลยเรียกว่า พิมพ์ “เกศคด” องค์ที่เกศหักในกรุเพราะชำรุดตามอายุ ทำให้เกศเลยสั้นเลยเรียกว่า “เกศบัวตูม” แต่ความจริงแล้วเป็นพระที่สร้างเกศยาวตรงตามแบบองค์ที่สมบูรณ์มากนั้นเอง

มือของพระท่ากระดานมีลักษณะหนาเป็นเอกลักษณ์ของพระอู่ทอง พระท่ากระดาน ถือว่าเป็นพระประจำเมืองกาญจนบุรี จนได้รับฉายาว่า ขุนศึกแห่งลุ่มแม่น้ำกลอง ที่โด่งดังและเป็นที่รู้จักของวงการพระเครื่องเมืองไทยมาช้านาน พระท่ากระดาน กรุศรีสวัสดิ์ "ท่ากระดาน" เป็นตำบลหนึ่งใน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี


ประวัติ พระท่ากระดาน
พระท่ากระดาน เป็นพระเครื่องที่สร้างในยุคสมัยอู่ทอง สันนิษฐานว่า ผู้ที่สร้างมิใช่พระสงฆ์ แต่เป็นฆราวาสที่เรียกกันว่า ฤๅษี ในยุคโบราณ เป็นการสันนิษฐานจากหลักฐานที่ปรากฏบนใบลานเงินลานทอง ในการค้นพบพระเครื่องกรุ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี และพระเครื่องกรุวัดพระบรมธาตุ จ.กำแพงเพชร ที่ได้กล่าวถึงการสร้างพระเครื่องของบรรดาพระฤๅษีทั้ง 11 ตน แต่มีฤๅษีอยู่ 3 ตน ที่ถือว่าเป็นใหญ่ในบรรดาฤๅษีทั้งปวง คือ ฤๅษีตาไฟ ฤๅษีตาวัว และ ฤาษีพิลาลัย ฤาษีที่สันนิษฐานว่าเป็น ผู้สร้างพระท่ากระดาน ก็คือ ฤๅษีตาไฟ โดยการอาราธนาของ เจ้าเมืองท่ากระดาน เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็นำมาบรรจุไว้ในอารามสำคัญของเมืองท่ากระดาน เมืองศรีสวัสดิ์ และเมืองกาญจนบุรีเก่า ในสมัยนั้น จากคำบอกเล่าของคนเมืองกาญจนบุรีรุ่นเก่า ที่เรียก พระท่ากระดาน ว่า พระเกศบิดตาแดง นั้น มีความหมายลึกซึ้ง บ่งบอกถึงเอกลักษณ์สำคัญของพระเครื่องชนิดนี้โดยตรง ชี้เบาะแสให้พิจารณาถึงผู้สร้างได้เป็นอย่างดี ด้วยคำว่า เกศบิด ตรงกับลักษณะพระเกศของพระที่มีลักษณะยาว และบิดม้วน ดุจชฎาของพระฤๅษี พระพักตร์ลักษณะเป็นหน้าพระฤๅษีอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งการก้มง้ำของพระพักตร์ แฝงไว้ด้วยความเข้มขลังของอาตาจญาณสมาบัติ ส่วนคำว่า ตาแดง นั้น ดูเหมือนว่าจะทวีความลึกลับยิ่งขึ้นไปอีก เพราะมิได้หมายความว่า พระเนตรขององค์พระมีวรรณะแดงของสนิมแดงแต่เพียงอย่างเดียว ส่วนอื่นๆ ขององค์พระก็ปรากฏวรรณะของสนิมแดงปกคลุมอยู่โดยทั่วไป จากลักษณะพิเศษต่างๆ ดังกล่าวนี้ ทำให้สันนิษฐานและประมาณการได้ว่า ผู้สร้าง พระท่ากระดาน นี้ น่าจะได้แก่ พระฤๅษีตาไฟ จารึกในย่านป่าเขาเขตกาญจนบุรี (ทางผ่านอู่ทอง) คงมีอาศรมอยู่ในป่าแถบนี้ และบางโอกาสก็จำศีลภาวนาอยู่ในถ้ำต่างๆ เช่นที่ ถ้ำลั่นทม เขต อ.ศรีสวัสดิ์ ซึ่งมีหลักฐานว่า เป็นแหล่งกำเนิดของ พระท่ากระดาน โดยมีการขุดพบพระท่ากระดานจำนวนหลายร้ององค์ บรรจุอยู่ในพระเจดีย์โบราณหน้าถ้ำ นอกจากนี้ยังได้ขุดพบ แม่พิมพ์ ของพระท่ากระดาน พร้อมกับเศษตะกั่ว ที่มีสนิมแดงเกิดขึ้นอีกมากมาย ทำให้สันนิษฐานว่า บริเวณหน้าถ้ำลั่นทม คือ สถานที่สร้างพระท่ากระดาน นั่นเอง

พุทธลักษณะ พระท่ากระดาน เป็นพระเครื่องปฏิมากรรมแบบนูนสูง คือมีภาพด้านหน้าด้านเดียว ด้านหลังแบนเรียบ โดยจะเน้นส่วนนูนสูง และส่วนลึก องค์พระปางมารวิชัยขัดราบ มีสังฆาฏิแบบสี่เหลี่ยมกว้างหนา ยาวจรดลงมาถึงบริเวณส่วนพระหัตถ์ซ้าย ฐานสำเภา อันเป็นเอกลักษณ์ของพระยุคอู่ทอง พระเกศยาว ใบหน้าลึก เป็นลักษณะแบบพุทธศิลปะยุคอู่ทอง พระเกศจะเป็นแบบยาวตรงขึ้นไปทุกองค์ แต่เนื่องจากระยะเวลาของอายุพระมาก และอยู่ใต้ดิน ถูกทับถมมาก ทำให้ปลายเกศซึ่งมีความบอบบาง อาจจะหักชำรุด หรืองอคดไปด้านใดด้านหนึ่ง ปลายเกศของพระท่ากระดาน จึงมีหลายลักษณะ คือ เกศยาวตรง เรียกว่า พิมพ์เกศตรง ส่วนเกศที่คดไปด้านใดด้านหนึ่ง เรียกว่า พิมพ์เกศคด พระองค์ใดที่เกศหักชำรุด ทำให้เกศหดเหลือสั้น เรียกว่า พิมพ์เกศบัวตูม

เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของพระท่ากระดาน คือ
พระหัตถ์ (มือ) มีลักษณะหนา ตามเอกลักษณ์ของพระอู่ทอง ลักษณะพระพักตร์ (หน้า) ของพระท่ากระดาน เป็นลักษณะพุทธศิลป์อู่ทอง ต้นพระหนุ (ขากรรไกร) พระหนุ (คาง) มีลักษณะยื่นออกมาข้างหน้าอย่างคมสัน เข้าลักษณะของอู่ทองคางคน พระเนตรปิดสนิท ลักษณะเมล็ดข้าวสาร ปลายเฉียงเข้าหาพระนาสิก (จมูก) ประกอบด้วย การก้มง้ำของพระพักตร์ มุมพระโอษฐ์ (ปาก) ทั้ง ๒ ข้างเน้นเป็นร่องลึก ทำให้ปรากฏแววยิ้มบนพระพักตร์ ดังนั้น พระพักตร์ของพระท่ากระดานจึงมีลักษณะเคร่งขรึม แต่แฝงไว้ด้วยรอยยิ้มดันอ่อนโยน อย่างน่าพิศวง ใน ส่วนของพระอุระ (อก) ลำพระองค์ และเส้นสังฆาฏิ โดยรวมมีลักษณะพระอุระผายกว้าง ตอนส่วนบนปาดเป็นเต้าสูง และสอบคดลงเบื้องล่าง ในแนวพระอุทร (ท้อง) หากมองดูแบบผิวเผิน พระอุระ (อก) จะมีลักษณะคล้ายรูปหัวช้าง (เช่นเดียวกับที่ปรากฏในพระผงสุพรรณ) เส้นสังฆาฏิเป็นเส้นหนา พาดพระอังสา (ไหล่) เบื้องซ้ายขององค์พระ ลักษณะของเส้นสังฆาฏิ ที่น่าสังเกตประการหนึ่ง คือ ปลายส่วนบนที่พาดพระอังสานั้น เมื่อพิจารณาให้ละเอียดจะพบว่า ปลายเส้นสังฆาฏิบริเวณนี้ เลือนหายเข้าสู่บริเวณกระดูกไหปลาร้า ใต้คางขององค์พระ เหมือนไม่ใช่พาดเหนือไหล่ เป็นลักษณะเช่นนี้ในพระทุกองค์ ส่วนพระเพลา หรือหน้าตักของพระท่ากระดานทุกกรุ มีส่วนของความหนาและแน่น ทับซ้อนกันอย่างแข็งทื่อ แน่นหนาอย่างมั่นคง ความเป็นศิลปะอู่ทองอีกส่วนหนึ่งคือ ฐาน เป็นแบบ พระอู่ทองฐานสำเภา คือเป็นฐานเขียงชั้นเดียว แสดงลักษณะแง่สันแท่งเหลี่ยม เมื่อพิจารณาจากด้านข้าง เห็นว่ามีความเฉียงลาดข้างบนเล็ก ข้างล่างบางใหญ่ เป็นฐานเกลี้ยงปราศจากบัวหรือสิ่งอื่นใด

พระท่ากระดาน มีการค้นพบ และขึ้นจากกรุหลายต่อหลายครั้ง ทั้งอย่างเป็นทางการ และถูกลักลอบขุด หากขึ้นหรือพบในยุคแรกๆ นิยมเรียกว่า พระกรุเก่า ส่วนที่มีการขุดพบเมื่อไม่นานมานี้ เรียกว่า พระกรุใหม่ ความเป็นจริงแล้ว ทั้งพระกรุเก่าและพระกรุใหม่ ล้วนสร้างขึ้นในสมัยเดียวกันทั้งสิ้น จะต่างก็เฉพาะระยะเวลาของการขุดพบพระกรุนั้นๆ

หลักการพิจารณาว่า พระท่ากระดาน องค์ใดเป็น พระกรุเก่า หรือ พระกรุใหม่ ให้พิจารณาพื้นผิวขององค์พระ

-พระกรุเก่า ขึ้นจากกรุมานานปี ผ่านการใช้สัมผัส และเปลี่ยนมือมามาก ทำให้ผิวขององค์พระเปิด เผยให้เห็นผิวของเนื้อพระได้โดยง่าย แม้จะเก็บรักษาอย่างดีเพียงใด ก็ยังพอสังเกตได้ ส่วน

-พระกรุใหม่ พื้นผิวขององค์พระ มักถูกปกคลุมด้วยคราบดินขี้กรุให้เห็นเป็นจำนวนมาก

ขนาดขององค์
-พระท่าพระดาน พิมพ์ใหญ่ กว้างประมาณ 2.8 ซม. สูงประมาณ 4.5 ซม. ความหนาที่ฐานพระ 1.3 ซม. -พระท่าพระดาน พิมพ์เล็ก กว้างประมาณ 2.5 ซม. สูงประมาณ 3.8 ซม. ความหนาที่ฐาน 1.2 ซม.


พุทธคุณพระท่ากระดาน จ.กาญจนบุรี ยอดเยี่ยมทางแคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี

เรื่องที่ได้รับความนิยม

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

้เหรียญท้าวสุรนารี (ย่าโม)

รุ่นฉลองครบ 100 ปี ราชสีมาวิทยาลัย พ.ศ.2542




โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ประเภทโรงเรียนชายล้วน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 1753 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระบรมราชโองการจัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นตามมณฑลต่างๆ โดยทั่วกัน ยึดแบบอย่างของโรงเรียนวัดมหรรณพพาราม โรงเรียนหลวงแห่งแรก (จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2427) ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลในพระองค์ที่ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นนี้ เพราะพระองค์มีพระราชปณิธานอันยิ่งใหญ่ ดังปรากฏในลายพระราชหัตถเลขา ความตอนหนึ่งว่า

Cquote1.svg
เจ้านายราชตระกูล ตั้งแต่ลูกฉันเป็นต้นไป จนถึงราษฎรที่ต่ำที่สุด จะได้มีโอกาสเล่าเรียนได้เสมอกัน ไม่ว่าเจ้า ว่าขุนนาง ว่าไพร่ เพราะฉะนั้นจึงขอบอกได้ว่าการเล่าเรียนในบ้านเมืองนี้ จะเป็นข้อสำคัญที่หนึ่ง ซึ่งฉันอุตส่าห์จัดให้เจริญขึ้นให้จงได้
Cquote2.svg

พระบรมราชโองการฯ จัดตั้งโรงเรียนหลวงตามมณฑล ประกาศเมื่อปี พ.ศ. 2441 ซึ่งมณฑลนครราชสีมา มีเมืองบุรีรัมย์และชัยภูมิ อยู่ในความดูแล ตัวเมืองนครราชสีมาเป็นเมืองหลัก วัดกลางหรือวัดพระนารายณ์เหมาะสมที่จะตั้งโรงเรียนหลวง และมีเจ้าคณะมณฑลพำนักอยู่วัดนี้ จึงได้เปิดทำการสอนครั้งแรกขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2442 ตรงกับปีกุน เอกศกปกติมาส จุลศักราช 1261 รัตนโกสินทร์ศก 118 คริสต์ศักราช 1899
อันถือเป็นจุดกำเนิดของ โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย ซึ่งประวัติของโรงเรียนจัดแบ่งตามสถานที่ตั้งโรงเรียนได้ 4 ยุค คือ ยุคที่ 1 วัดกลางหรือวัดพระนารายณ์ ยุคที่ 2 โรงเรียนประจำมณฑล ยุคที่ 3 เสือดงจิระ และยุคที่ 4 บ้านใหม่กิโลเก้า ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ริมถนนมิตรภาพ ต.บ้านใหม่ อ.เมือง จ.นครราชสีมา ด้วยเนื้อที่ 176 ไร่ 3 งาน 14 ตารางวา
โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย เป็นโรงเรียมมัธยมชายขนาดใหญ่ที่สุดประจำจังหวัดนครราชสีมา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย อาคารอำนวยการ อาคารเรียน และอื่นๆ จำนวนกว่ายี่สิบอาคาร มีนักเรียนกว่าสี่พันคน และครูกว่า สองร้อยคน มีนโยบายที่สำคัญในเนื้อหาของการปฏิรูปทางการศึกษา คือการปรับเปลี่ยนบทบาทให้องค์กรการศึกษาสามารถสร้างสรรค์แนวทางเรียนรู้ ความเข้าใจร่วมกัน และก่อกำเนิดรูปแบบใหม่ๆ ด้วยการส่งเสริมให้เยาวชนสามารถเรียนรู้เพื่อเข้าใจชีวิต สังคม และความสัมพันธ์ในภาวะแวดล้อมแบบองค์รวม ถึงพร้อมด้วยการเรียนรู้เพื่อเข้าใจบทบาทหน้าที่ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ชุมชน ท้องถิ่น และภูมิภาค มีส่วนในการกำหนดเนื้อหาและแนวทางการเรียนรู้ เพื่อกระจายการมีส่วนร่วมทางการศึกษาในแต่ละชุมชนท้องถิ่นขนานไปกับการศึกษา วิทยาการนานาชาติ ภายใต้แนวทางการพัฒนาแห่งชาติที่กำหนดให้ทรัพยากรบุคคล เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาที่สามารถเข้าใจพื้นฐานของตนเอง และสามารถก้าวย่างไปเพื่อสัมพันธ์กับนานาชาติได้
ส่วนในอดีตโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัยถือได้ว่าเป็นผลผลิตจากการปฏิรูปทาง การศึกษาที่สำคัญของประเทศ ภายใต้แนวทางในการพัฒนาการศึกษาและขยายโอกาสในระดับภูมิภาคท่ามกลางการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมอย่างขนานใหญ่ในรัชสมัยของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ที่ทรงวางแนวทางให้โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัยเป็นกลไกสำคัญในการวางรากฐานการ ศึกษาระดับภูมิภาคโดยเฉพาะภูมิภาคอีสาน ในโอกาสที่กระแสการปฏิรูปการศึกษาของประเทศก้าวมาสู่จุดเปลี่ยนที่สำคัญใน การปรับกระบวนทัศน์ บทบาท และมุมมองใหม่ โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จึงเสมือนหนึ่งบทบันทึกที่สำคัญของก้าวย่างใหม่ในการปรับแนวคิด และกระบวนการปฏิรูปการศึกษาให้กลายเป็นรูปธรรมจากเดิมในการสร้างสรรค์เยาวชน ของชาติตลอดระยะเวลามาอย่างยาวนาน
โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย เริ่มขึ้นที่วัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลาง) ในปี พ.ศ. 2442 หลังจากมีพระบรมราชโองการฯ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงขยายการศึกษาออกสู่หัวเมือง โดยอาศัยบนโรงเรียนธรรมของวัด มีฐานะเป็นโรงเรียนหลวงมนฑลของนครราชสีมา และได้รับพระราชทานนาฬิกาตั้ง พื้นโดยบริเวณส่วนยอดของนาฬิกาประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ จปร.ต่อมาได้ขยายหัวเมืองโดยอาศัยเรียนบนโรงธรรมของวัด ในวันอาทิตย์ แรม 14 ค่ำ เดือน 4 ปีขาล จัตวาศก 1264 ตรงกับวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2445 (ร.ศ.121) เรียกชื่อว่า โรงเรียนวัดกลาง
  • พ.ศ. 2447 วันที่ 1 พฤษภาคม ได้กระทำเปิดพิธีโรงเรียนอย่างเป็นทางการ โดยมี พระยากำแหงสงคราม สมุหเทศาภิบาล เป็นประธานในพิธี มีนักเรียน 110 คน พระสมุห์จริง ป. เป็นครูใหญ่ จัดการเรียนการสอนเพียงประโยคประถมศึกษา
  • พ.ศ. 2456 ได้สร้างโรงเรียนขึ้นใหม่ ณ บริเวณศาลารัฐบาลมณฑลนครราชสีมา ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนศิริวิทยากร (โรงเรียนรวมมิตรวิทยาในปัจจุบัน) และได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนตัวอย่าง กระทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2456
  • พ.ศ. 2457 โรงเรียนขยายการศึกษาจากระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาเป็นระดับฝึกหัด ครู (ป.) เพิ่มขึ้น นับว่าเป็นการฝึกหัดครูแห่งแรกในส่วนภูมิภาค
  • พ.ศ. 2458 มีพระราชบัญญัติการใช้นามสกุลครูและนักเรียนโรงเรียนตัวอย่างและครูทุกคนจึงมีนามสกุลตั้งแต่นั้นมา ครูใหญ่ชื่อ นายศุข อาสนนันทน์
  • พ.ศ. 2461 ในสมัยขุนอักษรเสรฐ เป็นครูใหญ่ โรงเรียนได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนประจำมณฑลนครราชสีมาเปิดสอนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
  • พ.ศ. 2470 โรงเรียนได้จัดให้มีแตรวงลูกเสือขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดดุริยางค์ลูกเสือ และวงโยธวาทิตของโรงเรียนในปัจจุบัน
  • พ.ศ. 2471 โอนนักเรียนหญิงทั้งหมดจากโรงเรียนประจำมณฑลนครราชสีมาไปอยู่รวมกับโรงเรียน ประจำจังหวัด ซึ่งเดิมตั้งอยู่ที่วัดสุทธจินดา (ปัจจุบันคือโรงเรียนสุรนารีวิทยา) จึงเปิดสอนเฉพาะนักเรียนชาย
  • พ.ศ. 2476 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ ได้มาตรวจโรงเรียนมีนักเรียนกว่า 1,000 คน เห็นควรให้เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 และ 8 ขึ้น
  • พ.ศ. 2477 ได้ขยายโรงเรียนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย โดยมี หลวงทรงวิทยาศาสตร์ เป็นครูใหญ่
  • พ.ศ. 2478 ได้ขยายนักเรียนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 และได้เปิดสอนแผนกพาณิชยการเพิ่มขึ้น
  • พ.ศ. 2481 ได้ยุบชั้นประถมศึกษาทั้งหมด จึงกลายเป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาที่มีแต่นักเรียนชายล้วน เปิดถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ยุบแผนกพาณิชยการ และยุบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 และ 8 ไปเปิดสอนที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท เพียงแห่งเดียว
  • พ.ศ. 2483 ได้ย้ายโรงเรียนจากสถานที่เดิมไปอยูที่บ้านแสนสุข ติดกับค่ายสุรนารี เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2483 นาย สำเนียง ตีระวนิช ป.ม.,อ.บ. เป็นอาจารย์ใหญ่ เกิดคำขวัญ 'มานะ-วินัย
  • พ.ศ. 2484 ก่อตั้งสมาคมนักเรียนเก่าราชสีมาวิทยาลัย (ส.น.ร.)
  • พ.ศ. 2489 เริ่มจัดการศึกษาชั้นเตรียมอุดมศึกษาแผนกวิทยาศาสตร์ และปี พ.ศ. 2490 เปิดสอนชั้นเตรียมอุดมศึกษาแผนกอักษรศาสตร์ นับเป็นโรงเรียนต่างจังหวัดแห่งแรกที่เปิดสอนทั้งสองแผนก นายดำรง มัธยนันท์ เป็นอาจารย์ใหญ่
  • พ.ศ. 2490 โรงเรียนได้รับคัดเลือกจากกรมวิสามัญศึกษาเป็นโรงเรียนประเคราะห์ (Project School) ของโครงการพัฒนาการศึกษา เรียกย่อ ๆ ว่า ค.พ.ศ. (General Education Development Project G.E.D.)
  • พ.ศ. 2506 กรมวิสามัญศึกษาได้สั่งให้เปิดสอนเป็นโรงเรียนมัธยมแบบประสม (Comprehensive School) โดยเริ่มรับนักเรียนชั้น ม.ศ. 1 จำนวน 8 ห้อง
  • พ.ศ. 2510 โรงเรียนได้ย้ายจากสถานที่เดิม ณ บ้านแสนสุข มาอยู่ ณ ที่ตั้งในปัจจุบัน เลขที่ 1753 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง (เดิมคือ ตำบลบ้านใหม่) อำเภอ เมือง จังหวัดนครราชสีมา มีเนื้อที่ 176 ไร่ 3 งาน 14 ตารางวา นายคณิต พุทธิรัตน์ เป็นอาจารย์ใหญ่
  • พ.ศ. 2511 โรงเรียนได้รับการคัดเลือกให้เข้าโครงการมัธยมแบบประสม แบบที่ 1 (คมส.1 ) (Comprehensive School) โดยจัดหลักสูตรให้กว้างขวางเพื่อให้นักเรียนที่มีความสามารถและความสนใจแตก ต่างกันได้เลือกเรียนตามสาขาวิชาต่างๆ ที่สนใจและถนัดในหลักสูตร มีทั้งวิชาสามัญที่นักเรียนจำเป็นต้องเรียน และมีวิชาที่นักเรียนเลือกเรียนได้ตามความถนัดและความสนใจของแต่ละคนทั้ง ด้านวิชาสามัญและวิชาชีพ
  • พ.ศ. 2517 นายคณิต พุทธิรัตน์ อาจารย์ใหญ่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนชั้นพิเศษ เปิดสอนนักศึกษาผู้ใหญ่ ระดับ 5 เรียกว่า โรงเรียนผู้ใหญ่ราชสีมาวิทยาลัย ระหว่าง พ.ศ. 2471 ถึง พ.ศ. 2525 โรงเรียนเปิดรับเฉพาะนักเรียนชาย จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโรงเรียนประจำจังหวัดชาย
  • พ.ศ. 2526 เปิดรับนักเรียนหญิงในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นต้นมา จึงเป็นโรงเรียนสหศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ส่วนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นยังคงเปิดรับเฉพาะนักเรียนชาย นายมาโนช ปานโต เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
  • พ.ศ. 2531 วงโยธวาทิตโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย ได้รับรางวัลชนะเลิศแห่งประเทศไทยรับถ้วยพระราชทานของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งนับเป็นปีสุดท้ายของการประกวดที่กำหนดให้มีถ้วยรางวัลพระราชทานประเภท เดียว ได้รับรางวัลโรงเรียนดีเด่น รางวัลพระราชทานโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ของเขตการศึกษา 11 นายสุชาติ สุประกอบ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
  • พ.ศ. 2532 วงโยธวาทิตของโรงเรียนเข้าร่วมประกวดดนตรีโลก ณ เมืองเกอร์กาเด ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้รับรางวัลเหรียญทองประเภทดิสเพลย์และมาร์ชชิ่ง นายสุชาติ สุประกอบ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
  • พ.ศ. 2533 โรงเรียนได้รับเชิญจากกระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรมประเทศญี่ปุ่น ให้ไปร่วมแสดงวงโยธวาทิต และศิลปะการแสดง
  • พ.ศ. 2534 วงโยธวาทิตของโรงเรียนเข้าร่วมประกวดดนตรีโลก ณ เมืองเกอร์กาเด ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้รับรางวัลเหรียญทองประเภทดิสเพลย์และมาร์ชชิ่ง นายชวลิต ตัณฑเศรณีวัฒน์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
  • พ.ศ. 2535 เปิดโรงเรียนสาขารับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นสหศึกษา
  • พ.ศ. 2536 โรงเรียนแบ่งพื้นที่จำนวน 14 ไร่ ให้กองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา จัดตั้งเป็นโรงเรียนศึกษาพิเศษนครราชสีมา (โรงเรียนนครราชสีมาปัญญานุกูล) เปิดสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา และบกพร่องทางการได้ยิน ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 3
  • พ.ศ. 2537 โรงเรียนสาขาได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย 2 และย้ายไปทำการสอน ณ ที่แห่งใหม่ ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2540
  • พ.ศ. 2538 นายสุจินต์ แซ่ตั้ง ได้รับรางวัลเหรียญเงินจากการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิค ณ ประเทศแคนาดา (ซึ่งนับว่าเป็นเหรียญเงินเหรียญแรกของประเทศไทยในสาขาวิชาคณิตศาสตร์)
  • พ.ศ. 2540 โรงเรียนได้งบประมาณสร้างอาคารเรียน 7 ชั้น ชื่อว่า "อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา"
  • พ.ศ. 2542 โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จัดงานฉลองครบรอบ 100 ปี แห่งการสถาปนา
  • พ.ศ. 2544 นายอุดม พรมพันธ์ใจ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
  • พ.ศ. 2545 จัดตั้งหอสมุด IT, หลังคาคลุมทางเดินเท้า ถมดิน และปรับสนามกีฬาให้เป็นขนาดมาตรฐาน
  • พ.ศ. 2546 พัฒนาการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และพัฒนาห้องเรียนพิเศษ รวมทั้งห้องประชุมอาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา
  • พ.ศ. 2547 โรงเรียนพัฒนาระบบบริหารให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา เพื่อมุ่งเน้นสู้ความเป็นเลิศในทุกๆ ด้าน
  • พ.ศ. 2548 จัดให้มีกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ จำนวน 1 ห้องเรียน พร้อมทั้งจัดตั้งห้องปฏิบัติการพิเศษทางด้านคณิตศาสตร์
  • พ.ศ. 2549 ได้เปิดทำการสอนห้องเรียน School in school เป็นห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียน จำนวน 1 ห้องเรียน , ปิดรับนักเรียนหญิง พร้อมเข้าสู่โรงเรียนชายล้วน (อีกครั้ง) ในปีการศึกษา 2551 ปรับพื้นที่ศูนย์กีฬาให้เป็นสนามตะกร้อ สนามเทนนิส สนามบาสเก็ตบอล ในระดับมาตรฐาน มูลนิธิสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เมตตาบารมี โดย คุณสรพงศ์ ชาตรี (กรีพงศ์ เทียมเศวต) จัดสร้างสวนหน้าโรงเรียน มอบพระประธาน ปางสุโขทัย 29 นิ้ว 1 องค์ รูปหล่อเหมือนสมเด็จโต 1 องค์ จัดสร้างห้องพุทธศาสน์ เปิดใช้ต้นปี พ.ศ. 2550
  • พ.ศ. 2550 โรงเรียนเข้าร่วมโครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (โครงการ วมว.) โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จำนวน 1 ห้องเรียน (ทั่วประเทศมี 4 โรงเรียน โดยโรงเรียนเป็นโรงเรียนสังกัดสพฐ. ได้เปิดทำการสอนห้องเรียน English-Technology (ET) เป็นห้องเรียนภาษาอังกฤษ ในระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียน และเปิดห้องเรียน คู่ขนานของโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งมีนักเรียน 35 คน เป็นนักเรียนชายล้วนทั้งหมด
  • พ.ศ. 2551 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จทรงเปิดศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น To Be Number One Friend Corner ในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
  • พ.ศ. 2552 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จทรงเปิดป้ายอาคารวิทยาศาสตร์ ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552 โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัยได้ทำการตั้งเสาธงใหม่สูง 37 เมตร โดยใช้ฤกษ์ในการตั้งเวลา 09.19 น. นับได้ว่าเป็นเสาธงของสถานศึกษาที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
  • พ.ศ. 2553 ครบรอบ 111 ปี แห่งการสถาปนาโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย และ นายอุทัย หวังอ้อมกลาง เข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นคนที่ 24 (คนปัจจุบัน)
ประวัติเพิ่มเติม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น