พระรอด นับได้ว่าเป็นเพชรน้ำเอกของนครหริภุญชัย เป็นพระเครื่องคู่บ้านคู่เมือง ของจังหวัดลำพูนที่มีอายุการสร้างกว่า ๑๐๐๐ ปี " วัดมหาวัน" เป็นหนึ่งในสี่พระอารามหลวงที่สำคัญยิ่ง โดย "พระนางจามเทวี" ผู้ครองนครหริภุญชัยได้โปรดให้สร้างขึ้นไว้เมื่อ พ.ศ.๑๒๒๓ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองลำพูน นับเป็นพระอารามแห่งเดียวที่มีการขุดพบปฏิมากรรมของขลังขนาดเล็กที่เต็มไป ด้วยความอลังการจากฝีมือช่างยุค นั้นพุทธลักษณะของพระรอด เป็นศิลปแบบลพบุรียุคต้น เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผามีสีแดง สีเหลือง สีขาวนวล และสีเขียวคราบแดง
พระรอด วัดมหาวัน มีพระพุทธศิลป์เป็นยุคสมัยทวาราวดี ประทับนั่งปางมารวิชัยและขัดเพชรบนฐานบัว ๒ ชั้น ด้านหลังขององค์พระเป็นปรกโพธิ์เรียงตั้งแต่หัวเข่าขององค์พระขึ้นเป็นซุ้ม ครอบองค์พระ จำนวนใบโพธิ์และเอกลักษณ์ของ ก้านโพธิ์ที่ชัดเจนในแต่ละพิมพ์จะมีจำนวนไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระรอดในแต่ละพิมพ์
พระรอดได้ขุดพบที่วัดมหาวัน พุทธศิลป์อยู่ในยุคกลางของสมัยหริภุญไชย ( ลำพูน ) อาณาจักรหริภุญไชย สร้างขึ้นราวต้นศตวรรษที่ ๑๓ -๑๔ เป็นอาณาจักรของ กลุ่มชนมอญโบราณ ทางภาคเหนือของประเทศไทย นับถือพระพุทธศาสนาหินยาน ใช้ภาษาบาลีจดคำสอนทางศาสนา ได้มีการกำหนดอายุและ ศิลปะพระรอดว่า สร้างในสมัยกษัตริย์จามเทวี เป็นยุคต้นของสมัยหริภุญไชย มีศิลปะสมัยทวารวดี
ในทางพุทธศิลป์แล้ว พระรอดน่าจะมีอายุอยู่ในช่วงหลังสมัยทวาราวดี รูปแบบของพระรอดคือประทับพระบาทสมาธิเพชร ( ท่านั่งขัดเพชร ) ในสมัยทวาราวดีสร้างพระพุทธรูปนั่งขัดหลวมและหงายฝ่าพระบาทกางออก และไม่ปรากฏพระพุทธรูปนั่งขัดเพชรในศิลปะทวาราวดี พระพุทธรูปนั่งขัดเพชรเป็นแบบอย่างเฉพาะของพระพุทธรูปอินเดียฝ่ายเหนือ ( มหายาน ) พระพุทธรูปและพระเครื่องในลำพูนได้ปรากฏศิลปะสมัยต่างๆ รวมอยู่หลายสมัย คือ สมัยทวาราวดี ลพบุรี แบบหริภุญไชย พุกาม อู่ทองและสมัยล้านนา
พระรอดได้ชื่อว่าเป็นพระที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด ในกระบวนพระเครื่องเมืองไทย มีอายุราว 1 พันปี ซึ่งพระนางจามเทวี พระธิดาพระเจ้ากรุงละโว้ ผู้เสด็จขึ้นไปครองเมืองลำพูนเป็นผู้โปรดให้สร้างขึ้นบรรจุในวัดมหาวัน พระรอดเป็นหนึ่งในพระเบญจภาคี พบที่กรุวัดมหาวันเพียงแห่งเดียว เป็นพระพิมพ์ขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับพระคง พระบางและพระเปิม คำว่า "รอด" เป็นภาษาเหนือแปลว่า "เล็ก"
ลักษณะของพระรอด
เป็นพระประทับนั่ง ขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย บนฐานเขียง ใต้ปรกโพธิ์ ผิวพระพบบ่อยๆว่าจะเ...่ยวย่น สืบเนื่องมาจากพระคายน้ำตอนเผาไฟ พระพักตร์ก้มเล็กน้อย รายละเอียดของพระพักตร์คล้ายศิลปะพม่าหรือพุกามเป็นพระศิลปะยุคเดียวกับ ทวาราวดี ตอนปลาย ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖
ตำหนิเอกลักษณ์
๑. พระศกคล้ายฝาชี พระเกศสั้นจิ่ม
๒. พระพักตร์สอบเสี้ยม พระเนตรโปนโต พระนาสิกสั้นโต พระโอษฐ์วาดโค้ง
๓. มีเส้นนำตาดิ่งจากยอดพระกรรณ ลงมาจรดใบโพธิ์
๔. ปลายพระกรรณซ้ายมือองค์พระหักวกเป็นตัววี
๕. ต้นแขนขวาขงองค์พระจะเล็ก คล้ายพระคงแต่จะน้อยกว่า
๖. พระพิมพ์ใหญ่โดยมากจะมีขอบปีกพระ
๗. ขอบจีวรตรงอกจะนูนหนา
๘. ปลายนิ้วทั้ง ๔ จรดฐาน ส่วนนิ้วหัวแม่มือขวาที่พาดตักจะขาด
๙. เส้นน้ำตกใต้แขนซ้าย มาโผล่ที่ใต้เข่าอีกจุด และในร่องใต้ฐานอาสนะชั้นบนสุด อาจมีเส้นน้ำตกบางๆในแนวเดียวกัน
๑๐. แขนซ้ายองค์พระจะหักมุมเป็น ๒ ส่วน
๑๑. เส้นแซมใต้ฐานอาสนะชั้นที่ ๑
๑๒. ฐานอาสนะมี ๓ ชั้น ชั้น ๒ และ ชั้น ๓ บางทีติดกันโดมีร่องตื้นๆขั้นกลาง
๑๓. รอยกดพับที่ก้นฐาน และมีรอยนิ้วมือติดอยู่ เกิดจากการดันพระออกจากพิมพ์
๑๔. ในพระรอดพิมพ์ใหญ่ จะเห็นปลายพระบาทซ้ายองค์พระคล้ายหัวงู มีร่องปากเล็กๆปรากฎอยู่
พระรอด เป็นชื่อที่เรียกผิดเพี้ยนมาจาก พระนารอท หรือ พระนารทะ ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นพระนามสำคัญอันปรากฏให้เห็นในตำนานพุทธศาสนา หลายครั้งหลายครา เช่น เป็นพระนามของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ใน บทอาฎาฎิปริต เป็นพระนามของพระโพธิสัตว์ ใน พรหมนารทชาดก และนามของบุตรพระโพธิสัตว์ ใน นิบาตชาดก เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังปรากฎในคัมภีร์ของพรามณ์
สีของพระรอด มีประมาณ ๔ สี คือ
๑.พระรอดสีขาว เนื่องจากพระรอดเป็นพระที่สร้างจากเนื้อดิน ซึ่งเชื่อว่าเป็นดินในจังหวัดลำพูนหรือจังหวัดใกล้เคียง มีสีขาว เป็นเนื้อดินที่สะอาดและละเอียด จนมีคนเข้าใจว่ากรรมวิธีการนวดดินนั้น น่าจะผ่านการกรองผ้าขาวจนกระทั่งไม่มีสิ่งเจือปนใดๆ ทั้งสิ้น บางท่านสันนิษฐานว่า อาจจะเป็นดินที่ขุดได้จากดินที่ตกตะกอนในธารน้ำไหลภายในถ้ำ จึงสะอาดและไม่มีสิ่งเจือปนใดๆ ทั้งสิ้น
พระรอดสีขาว ควรจะเป็นพระที่อยู่ในบริเวณเตาเผาที่ไม่ถูกความร้อนมากเท่าที่ควร เนื้อพระจึงเป็นสีขาวเพราะไม่สุก และไม่แกร่งเท่าพระรอดสีอื่นๆ จึงมีขนาดค่อนข้างใหญ่ แต่มักจะไม่คมชัดเท่าที่ควร
๒.พระรอดสีแดง เป็นพระรอดที่เผาสุกเรียบร้อยแล้ว จึงมีขนาดเล็กลง กว่าพระรอดสีขาว มีความคมลึกและชัดเจนเช่นพระรอดสีอื่นๆ
๓.พระรอดสีเหลือง เป็นพระรอดที่เผาได้แกร่งกว่าพระรอดสีแดง จึงมีขนาดขององค์พระเล็กกว่า พระรอดสีแดงเล็กน้อย ตามทฤษฎีจะมีความคมลึกและชัดมากกว่าพระรอดสีแดง
๔.พระรอดสีเขียว เป็นพระรอดที่มีความแข็งแกร่งมากที่สุด มีการหดตัวเล็กลงจากพระรอดสีเหลือง มีความคมชัดที่สุดในจำนวนพระรอด เนื่องมาจากการหดตัวเมื่อเกิดความร้อนจัด เพราะความแหลมคมจึงอาจทำให้พระรอดสีเขียวดูไม่ล่ำสันเท่ากับพระรอดสีแดงและ สีเหลือง
นอกจากนี้พระรอดสีเขียวยังมีสีเขียวที่แตกต่างกันไปเป็นลำดับ จากพระรอดสีเขียวคาบเหลือง เป็นพระรอดสีเขียว และเป็นพระรอดสีเขียวเข้ม จนมีขนาดเล็กที่สุดคือ พระรอดสีเขียวเข้มจนเกือบดำ
พุทธศิลป์ของพระรอด วัดมหาวัน เป็นพระที่แกะแม่พิมพ์ได้ลึกมาก มีพระพักตร์ที่มีรายละเอียดครบถ้วน พระเนตรโปนภายในกรอบพระเนตร มีจมูกใหญ่และริมฝีปากหนาตามพุทธสมัย สมัยทวาราวดี พระกรรณแนบอยู่ข้างพระเศียรทั้งสองข้าง พระบาทนั่งขัดเพชรเป็นรูปพระบาทอย่างชัดเจน ฝ่าพระหัตถ์วางลงบนตักมีนิ้วหัวแม่โป้งกางออกและนิ้วมือครบทั้ง ๔ นิ้ว
เนื่องจากสัณฐานของพระรอดมีทรงที่สูงเล็กน้อย กรรมวิธีการสร้างและกดพิมพ์ด้วยนิ้วมือที่ปั้นเป็นหลังของพระรอดนูนโค้ง โดยไม่มีการตัดขอบ การถอดแม่พิมพ์นั้นกดจากส่วนใต้ฐานขององค์พระขึ้นไป จึงมักจะทำให้เกิดรอยครูดของแม่พิมพ์ขึ้น
เพราะฉะนั้น ถ้าพระส่วนฐานและฝ่าพระบาทคมชัด พระเศียรขององค์พระตรงส่วนคางจะครูดขึ้นเล็กน้อย แต่ถ้าพระเศียรขององค์พระเต็ม ไม่มีรอยครูด พระหัตถ์ขององค์พระจะมีรอยกดแบนหรือครูดไปละเอียดครบถ้วน มีนวลดินเดิมในกรุจับอยู่บางๆ เท่านั้น
พระรอด วัดมหาวัน จ.ลำพูน
วัดมหาวัน จ.ลำพูน พระอารามที่มีชื่อเสียงเลื่องลือไป ทั่วทุกภูมิภาคของเมืองไทย ทั้งนี้มิใช่เพราะเรื่องอื่นใด นอกจากเพียงประการเดียวคือ เป็นแหล่งกำเนิดของ "พระรอด" ซึ่งเป็นหนึ่งในพระเครื่องชุดเบญจภาคีพระรอด วัดมหาวัน มีพระพุทธศิลป์เป็นยุคสมัยทวาราวดี ประทับนั่งปางมารวิชัยและขัดเพชรบนฐานบัว ๒ ชั้น ด้านหลังขององค์พระเป็นปรกโพธิ์เรียงตั้งแต่หัวเข่าขององค์พระขึ้นเป็นซุ้ม ครอบองค์พระ จำนวนใบโพธิ์และเอกลักษณ์ของ ก้านโพธิ์ที่ชัดเจนในแต่ละพิมพ์จะมีจำนวนไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระรอดในแต่ละพิมพ์
การขุดหาพระรอดมีกันหลายครั้งหลายหน จนประมาณครั้งมิได้ เท่าที่สืบทราบมีดังนี้
การพบกรุพระรอดในสมัยเจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร เมื่อปี ๒๔๓๕-๒๔๔๕ พระเจดีย์มหาวันชำรุดทรุดโทรมและพังทลายลงมาเป็นส่วนมาก ดังนั้น เจ้าเหมพินธุไพรจิตร จึงดำริให้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ขึ้นใหม่ โดยการสร้างสวมครอบองค์เดิมลงไป ส่วนเศษปรักหักพังที่กองทับถมกันอยู่นั้น ได้จัดการให้โกยเอาไปถมหนองน้ำซึ่งอยู่ระหว่างหอสมุดของวัด โอกาสนั้นได้พบพระรอดเป็นจำนวนมากมายภายในกรุพระเจดีย์มหาวัน
พระรอดส่วนหนึ่งได้รับการบรรจุ กลับคืนเข้าไปในพระเจดีย์ตามเดิม อีกส่วนหนึ่งมีผู้นำไปสักการบูชา และส่วนสุดท้ายได้ปะปนกับสร้างกรุและ เศษดินทรายจมอยู่ในหนองน้ำดังกล่าว
การพบพระรอดในกรุสมัยเจ้าหลวง อินทรยงยศ ประมาณปี ๒๔๕๑ ครั้งนั้น เจ้าหลวงอินทรยงยศ ได้พิจารณาเห็นว่า มีต้นโพธิ์ขึ้นแทรกตรง บริเวณฐานมหาวัน และรากชอนลึกลงไปภายใน องค์พระเจดีย์มหาวัน ทำให้มีรอยร้าว ชำรุดหลายแห่ง จึงให้ช่างรื้อฐานรอบนอกพระเจดีย์ออกเสีย แล้วปฏิสังขรณ์ใหม่ การกระทำครั้งนี้พบพระรอดซึ่ง เจ้าเหมพินธุไพจิตรรวบรวม บรรจุไว้ในคราวบูรณะครั้งใหญ่ จำนวน ๑ กระเช้าบาตร (ตะกร้าบรรจุข้าวตักบาตร) จึงได้นำมาแจกจ่ายแก่บรรดาญาติวงศ์ (เจ้าหลวงจักรคำ ขจรศักดิ์ ผู้เป็นบุตร ในสมัยนั้นยังเป็นหนุ่ม ก็ได้รับพระรอดจากเจ้าพ่อไว้เป็นจำนวนมาก และเป็นมรดกตกทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้) ทั้งได้จัดพิธีสร้างพระรอดรุ่นใหม่ขึ้นบรรจุไว้แทน ส่วนฐานพระเจดีย์ที่ปฏิสังขรณ์ใหม่นั้นก็ขยายกว้างขึ้นกว่าเดิม
การขุดหาพระรอดในฤดูแล้ง นับแต่สมัยปฏิสังขรณ์มหาวันเจดีย์เป็นต้นมา นับวันยิ่งมีผู้ศรัทธาเลื่อมใสในคุณวิเศษของพระรอดอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น เพราะคุณวิเศษของพระรอดเป็นมหัศจรรย์อย่างสูงแก่ผู้มีไว้สักการบูชา จึงมีผู้พากันมาขุดหา พระรอดภายในบริเวณอุปจารของวัด ตรงบริเวณที่เคยเป็นแอ่งน้ำ ได้พระรอดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ต่อไปก็ขยายบริเวณการขุดออกไปอย่างกว้างขวางทั่วอุปจารของวัด และได้กระทำติดต่อกันมานานปีจนกลายเป็นประเพณีกลายๆ ของชาวลำพูน คือ
ในฤดูแล้งภายหลังการเก็บเกี่ยวแล้ว คือระหว่างเดือน ๔ ถึงเดือน ๖ ของทุกปี จะมีชาวบ้านมาขุดหาพระรอดกันในวัดมหาวัน จนพื้นที่ของวัดเต็มไปด้วยหลุมบ่อ ทางวัดจึงห้ามการขุด
การขุดพบพระรอดปี ๒๔๙๘ เนื่องจากมีการปฏิสังขรณ์กุฏิเจ้าอาวาสวัดมหาวัน ในการขุดดินเพื่อลงรากฐานการก่อสร้างด้านหน้าและใต้ถุนกุฏิ พบพระรอดประมาณ ๒๐๐ องค์เศษ ทุกองค์จัดว่าเป็นพระรอดที่เนื้องามทั้งสิ้น มีวรรณะผุดผ่องงดงามยิ่งนัก และมีหลายพิมพ์ทรงแทบจะไม่ซ้ำกันเลย ได้เริ่มขุดในเดือนมกราคม สิ้นสุดในเดือนสิงหาคม
นอกจากพระรอดแล้ว ยังขุดได้พระเครื่องสกุลลำพูนอีกหลายชนิด เช่น พระคง พระบาง พระเลี่ยง พระสาม พระสิบ พระสิบสอง พระงบน้ำอ้อย พระกล้วย พระกวาง และพระแผ่นทอง เป็นต้น
ต่อมามีการขุดพบพระรอดในปี ๒๕๐๖ ทางวัดมหาวันได้เริ่มการรื้อ พระอุโบสถเพื่อปฏิสังขรณ์ พบพระรอดประมาณ ๒๐๐ องค์เศษ ภายใต้พื้นพระอุโบสถนั้น พระรอดจำนวนหนึ่งมีผู้นำมาจำหน่ายในกรุงเทพฯ ในราคาสูงมาก ส่วนมากเป็นพระชำรุดและเนื้อไม่จัด ยิ่งกว่านั้น บางองค์ที่พระพักตร์ชัดเจน จะมีลักษณะพระเนตร พระนาสิก พระโอษฐ์โปนเด่น ๖ นิ้ว
พระรอดได้ขุดพบที่วัดมหาวัน พุทธศิลป์อยู่ในยุคกลางของสมัยหริภุญไชย (ลำพูน) อาณาจักรหริภุญไชย สร้างขึ้นราวต้นศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ เป็นอาณาจักรของ กลุ่มชนมอญโบราณ ทางภาคเหนือของประเทศไทย นับถือพระพุทธศาสนาหินยาน ใช้ภาษาบาลีจดคำสอนทางศาสนา ได้มีการกำหนดอายุและ ศิลปะพระรอดว่า สร้างในสมัยกษัตริย์จามเทวี เป็นยุคต้นของสมัยหริภุญไชย มีศิลปะสมัยทวารวดี
ในทางพุทธศิลป์แล้ว พระรอดน่าจะมีอายุอยู่ในช่วงหลังสมัยทวาราวดี รูปแบบของพระรอดคือประทับพระบาทสมาธิเพชร (ท่านั่งขัดเพชร) ในสมัยทวาราวดีสร้างพระพุทธรูปนั่งขัดหลวมและหงายฝ่าพระบาทกางออก และไม่ปรากฏพระพุทธรูปนั่งขัดเพชรในศิลปะทวาราวดี พระพุทธรูปนั่งขัดเพชรเป็นแบบอย่างเฉพาะของพระพุทธรูปอินเดียฝ่ายเหนือ (มหายาน) พระพุทธรูปและพระเครื่องในลำพูนได้ปรากฏศิลปะสมัยต่างๆ รวมอยู่หลายสมัย คือ สมัยทวาราวดี ลพบุรี แบบหริภุญไชย พุกาม อู่ทองและสมัยล้านนา
พระรอด วัดมหาวัน มีทั้งหมด ๕ พิมพ์ คือ
๑.พระรอด พิมพ์ใหญ่
๒.พระรอด พิมพ์กลาง
๓.พระรอด พิมพ์เล็ก
๔.พระรอด พิมพ์ต้อ
๕.พระรอด พิมพ์ตื้น
ต้องเป็นพระรอดสีเขียว มีความคมชัดในทุกรายละเอียด แต่ในปัจจุบันสีไม่ใช่เครื่องชี้วัดความสวยงามและ ความสูงค่าขององค์พระรอด ต้องดูที่ความสวยงามทั้งองค์เท่านั้น
ที่มา : http://www.amulet.in.th/forums/view_topic.php?t=1784
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น