สวัสดีเพื่อนๆที่เข้ามาเยี่ยมชม Blog แห่งนี้ครับ

เนื่องจากบล็อกแห่งนี้ทำขึ้นเพื่อเป็นการนำเสนอพระเครื่องที่ผมเก็บสะสมไว้เอง แล้วยังรวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับพระเครื่องและสถานที่ ที่น่าสนใจต่างๆ เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่สามารถศึกษาได้ ซึ่งหากข้อมูลใดผิดพลาด เพื่อนๆสามารถช่วยกันเพิ่มเติมแก้ไขทางกระทู้ของแต่ละหน้าได้นะครับ ..
โฆษณาของคุณตรงนี้ ขนาด 750 X 200 px 500บาท/เดือน สนใจติดต่อ RarePra@Hotmail.com 08-0411-3348(คุณป๊อป)
จำหน่ายเสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬา ยาสมุนไพรหมอเส็ง
พื้นที่โฆษณา 4 ขนาด 150 X 100 px 200บาท/เดือน RarePra@Hotmail.com 08-0411-3348
พื้นที่โฆษณา 5 ขนาด 150 X 100 px 200บาท/เดือน RarePra@Hotmail.com 08-0411-3348

สนใจเช่าพระจากเว็บนี้ Line Id: poppyniwa








ตำหนิของ พิมพ์พระท่ากระดาน กรุศรีสวัสดิ์ (กรุเก่า)
1. ขาที่วางซ้อนกันมีรอยขาดทั้งสองข้างเกิดจากตำหนิของแม่พิมพ์
2. มือที่วางบนตักระหว่างนิ้วโป้งกับนิ้วชี้มีร่องเล็กน้อย
3. ลูกตาขององค์พระคล้ายผลมะปรางและเฉียงขึ้นเล็กน้อย
4. ปรากฎรักยิ้มขององค์พระที่มุมปากทั้งสองข้าง
5. มีไขแซมขึ้นจากเนื้อองค์พระ
6. มีการยุบตัวของตะกั่วเกิดจากความเก่าของตะกั่วเพราะมีอายุหลายร้อยปี

พระท่ากระดาน กรุศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี พระท่ากระดาน เป็นพระที่ถูกสร้างในสมัยอู่ทอง คือ ประมาณปี พ.ศ.1800 ถึง พ.ศ.2031 เป็นพระเครื่องที่มีลักษณะแบบนูนสูง คือ มีภาพด้านหน้าด้านเดียว ด้านหลังแบนเรียบ และจะเน้นส่วนนูนสูงและส่วนลึก

พระท่ากระดานเป็นพระประติมากรปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบมีสังฆาฏิแบบสี่เหลี่ยมกว้างหนายาวจรดลงมา มีฐานหนา ซึ่งเรียกว่า ฐานสำเภาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระยุคอู่ทอง พระเกศยาวใบหน้าลึก ลักษณะคล้ายยิ้มแบบเครียดๆเป็นลักษณะแบบอู่ทองเกศของพระท่ากระดานนั้น สันนิษฐานว่าจะทำเป็นเกศยาวทุกองค์และตรงขึ้นไป เกี่ยวกับอายุมากและอยุ่ใต้ดินถูกทับถมเลยทำให้ปลายเกศซึ่งมีความบอบบางอาจ หักชำรุดหรือคดงอ เลยทำให้ปลายเกศของพระท่ากระดานมีหลายลักษณะ คือ เกศยาวตรงเลยเรียกว่า “พิมพ์เกศตรง” ส่วนเกศที่คดไปคดมาเพราะเกิดจากการบิดงอรือถูกทับบิดไปเลยเรียกว่า พิมพ์ “เกศคด” องค์ที่เกศหักในกรุเพราะชำรุดตามอายุ ทำให้เกศเลยสั้นเลยเรียกว่า “เกศบัวตูม” แต่ความจริงแล้วเป็นพระที่สร้างเกศยาวตรงตามแบบองค์ที่สมบูรณ์มากนั้นเอง

มือของพระท่ากระดานมีลักษณะหนาเป็นเอกลักษณ์ของพระอู่ทอง พระท่ากระดาน ถือว่าเป็นพระประจำเมืองกาญจนบุรี จนได้รับฉายาว่า ขุนศึกแห่งลุ่มแม่น้ำกลอง ที่โด่งดังและเป็นที่รู้จักของวงการพระเครื่องเมืองไทยมาช้านาน พระท่ากระดาน กรุศรีสวัสดิ์ "ท่ากระดาน" เป็นตำบลหนึ่งใน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี


ประวัติ พระท่ากระดาน
พระท่ากระดาน เป็นพระเครื่องที่สร้างในยุคสมัยอู่ทอง สันนิษฐานว่า ผู้ที่สร้างมิใช่พระสงฆ์ แต่เป็นฆราวาสที่เรียกกันว่า ฤๅษี ในยุคโบราณ เป็นการสันนิษฐานจากหลักฐานที่ปรากฏบนใบลานเงินลานทอง ในการค้นพบพระเครื่องกรุ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี และพระเครื่องกรุวัดพระบรมธาตุ จ.กำแพงเพชร ที่ได้กล่าวถึงการสร้างพระเครื่องของบรรดาพระฤๅษีทั้ง 11 ตน แต่มีฤๅษีอยู่ 3 ตน ที่ถือว่าเป็นใหญ่ในบรรดาฤๅษีทั้งปวง คือ ฤๅษีตาไฟ ฤๅษีตาวัว และ ฤาษีพิลาลัย ฤาษีที่สันนิษฐานว่าเป็น ผู้สร้างพระท่ากระดาน ก็คือ ฤๅษีตาไฟ โดยการอาราธนาของ เจ้าเมืองท่ากระดาน เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็นำมาบรรจุไว้ในอารามสำคัญของเมืองท่ากระดาน เมืองศรีสวัสดิ์ และเมืองกาญจนบุรีเก่า ในสมัยนั้น จากคำบอกเล่าของคนเมืองกาญจนบุรีรุ่นเก่า ที่เรียก พระท่ากระดาน ว่า พระเกศบิดตาแดง นั้น มีความหมายลึกซึ้ง บ่งบอกถึงเอกลักษณ์สำคัญของพระเครื่องชนิดนี้โดยตรง ชี้เบาะแสให้พิจารณาถึงผู้สร้างได้เป็นอย่างดี ด้วยคำว่า เกศบิด ตรงกับลักษณะพระเกศของพระที่มีลักษณะยาว และบิดม้วน ดุจชฎาของพระฤๅษี พระพักตร์ลักษณะเป็นหน้าพระฤๅษีอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งการก้มง้ำของพระพักตร์ แฝงไว้ด้วยความเข้มขลังของอาตาจญาณสมาบัติ ส่วนคำว่า ตาแดง นั้น ดูเหมือนว่าจะทวีความลึกลับยิ่งขึ้นไปอีก เพราะมิได้หมายความว่า พระเนตรขององค์พระมีวรรณะแดงของสนิมแดงแต่เพียงอย่างเดียว ส่วนอื่นๆ ขององค์พระก็ปรากฏวรรณะของสนิมแดงปกคลุมอยู่โดยทั่วไป จากลักษณะพิเศษต่างๆ ดังกล่าวนี้ ทำให้สันนิษฐานและประมาณการได้ว่า ผู้สร้าง พระท่ากระดาน นี้ น่าจะได้แก่ พระฤๅษีตาไฟ จารึกในย่านป่าเขาเขตกาญจนบุรี (ทางผ่านอู่ทอง) คงมีอาศรมอยู่ในป่าแถบนี้ และบางโอกาสก็จำศีลภาวนาอยู่ในถ้ำต่างๆ เช่นที่ ถ้ำลั่นทม เขต อ.ศรีสวัสดิ์ ซึ่งมีหลักฐานว่า เป็นแหล่งกำเนิดของ พระท่ากระดาน โดยมีการขุดพบพระท่ากระดานจำนวนหลายร้ององค์ บรรจุอยู่ในพระเจดีย์โบราณหน้าถ้ำ นอกจากนี้ยังได้ขุดพบ แม่พิมพ์ ของพระท่ากระดาน พร้อมกับเศษตะกั่ว ที่มีสนิมแดงเกิดขึ้นอีกมากมาย ทำให้สันนิษฐานว่า บริเวณหน้าถ้ำลั่นทม คือ สถานที่สร้างพระท่ากระดาน นั่นเอง

พุทธลักษณะ พระท่ากระดาน เป็นพระเครื่องปฏิมากรรมแบบนูนสูง คือมีภาพด้านหน้าด้านเดียว ด้านหลังแบนเรียบ โดยจะเน้นส่วนนูนสูง และส่วนลึก องค์พระปางมารวิชัยขัดราบ มีสังฆาฏิแบบสี่เหลี่ยมกว้างหนา ยาวจรดลงมาถึงบริเวณส่วนพระหัตถ์ซ้าย ฐานสำเภา อันเป็นเอกลักษณ์ของพระยุคอู่ทอง พระเกศยาว ใบหน้าลึก เป็นลักษณะแบบพุทธศิลปะยุคอู่ทอง พระเกศจะเป็นแบบยาวตรงขึ้นไปทุกองค์ แต่เนื่องจากระยะเวลาของอายุพระมาก และอยู่ใต้ดิน ถูกทับถมมาก ทำให้ปลายเกศซึ่งมีความบอบบาง อาจจะหักชำรุด หรืองอคดไปด้านใดด้านหนึ่ง ปลายเกศของพระท่ากระดาน จึงมีหลายลักษณะ คือ เกศยาวตรง เรียกว่า พิมพ์เกศตรง ส่วนเกศที่คดไปด้านใดด้านหนึ่ง เรียกว่า พิมพ์เกศคด พระองค์ใดที่เกศหักชำรุด ทำให้เกศหดเหลือสั้น เรียกว่า พิมพ์เกศบัวตูม

เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของพระท่ากระดาน คือ
พระหัตถ์ (มือ) มีลักษณะหนา ตามเอกลักษณ์ของพระอู่ทอง ลักษณะพระพักตร์ (หน้า) ของพระท่ากระดาน เป็นลักษณะพุทธศิลป์อู่ทอง ต้นพระหนุ (ขากรรไกร) พระหนุ (คาง) มีลักษณะยื่นออกมาข้างหน้าอย่างคมสัน เข้าลักษณะของอู่ทองคางคน พระเนตรปิดสนิท ลักษณะเมล็ดข้าวสาร ปลายเฉียงเข้าหาพระนาสิก (จมูก) ประกอบด้วย การก้มง้ำของพระพักตร์ มุมพระโอษฐ์ (ปาก) ทั้ง ๒ ข้างเน้นเป็นร่องลึก ทำให้ปรากฏแววยิ้มบนพระพักตร์ ดังนั้น พระพักตร์ของพระท่ากระดานจึงมีลักษณะเคร่งขรึม แต่แฝงไว้ด้วยรอยยิ้มดันอ่อนโยน อย่างน่าพิศวง ใน ส่วนของพระอุระ (อก) ลำพระองค์ และเส้นสังฆาฏิ โดยรวมมีลักษณะพระอุระผายกว้าง ตอนส่วนบนปาดเป็นเต้าสูง และสอบคดลงเบื้องล่าง ในแนวพระอุทร (ท้อง) หากมองดูแบบผิวเผิน พระอุระ (อก) จะมีลักษณะคล้ายรูปหัวช้าง (เช่นเดียวกับที่ปรากฏในพระผงสุพรรณ) เส้นสังฆาฏิเป็นเส้นหนา พาดพระอังสา (ไหล่) เบื้องซ้ายขององค์พระ ลักษณะของเส้นสังฆาฏิ ที่น่าสังเกตประการหนึ่ง คือ ปลายส่วนบนที่พาดพระอังสานั้น เมื่อพิจารณาให้ละเอียดจะพบว่า ปลายเส้นสังฆาฏิบริเวณนี้ เลือนหายเข้าสู่บริเวณกระดูกไหปลาร้า ใต้คางขององค์พระ เหมือนไม่ใช่พาดเหนือไหล่ เป็นลักษณะเช่นนี้ในพระทุกองค์ ส่วนพระเพลา หรือหน้าตักของพระท่ากระดานทุกกรุ มีส่วนของความหนาและแน่น ทับซ้อนกันอย่างแข็งทื่อ แน่นหนาอย่างมั่นคง ความเป็นศิลปะอู่ทองอีกส่วนหนึ่งคือ ฐาน เป็นแบบ พระอู่ทองฐานสำเภา คือเป็นฐานเขียงชั้นเดียว แสดงลักษณะแง่สันแท่งเหลี่ยม เมื่อพิจารณาจากด้านข้าง เห็นว่ามีความเฉียงลาดข้างบนเล็ก ข้างล่างบางใหญ่ เป็นฐานเกลี้ยงปราศจากบัวหรือสิ่งอื่นใด

พระท่ากระดาน มีการค้นพบ และขึ้นจากกรุหลายต่อหลายครั้ง ทั้งอย่างเป็นทางการ และถูกลักลอบขุด หากขึ้นหรือพบในยุคแรกๆ นิยมเรียกว่า พระกรุเก่า ส่วนที่มีการขุดพบเมื่อไม่นานมานี้ เรียกว่า พระกรุใหม่ ความเป็นจริงแล้ว ทั้งพระกรุเก่าและพระกรุใหม่ ล้วนสร้างขึ้นในสมัยเดียวกันทั้งสิ้น จะต่างก็เฉพาะระยะเวลาของการขุดพบพระกรุนั้นๆ

หลักการพิจารณาว่า พระท่ากระดาน องค์ใดเป็น พระกรุเก่า หรือ พระกรุใหม่ ให้พิจารณาพื้นผิวขององค์พระ

-พระกรุเก่า ขึ้นจากกรุมานานปี ผ่านการใช้สัมผัส และเปลี่ยนมือมามาก ทำให้ผิวขององค์พระเปิด เผยให้เห็นผิวของเนื้อพระได้โดยง่าย แม้จะเก็บรักษาอย่างดีเพียงใด ก็ยังพอสังเกตได้ ส่วน

-พระกรุใหม่ พื้นผิวขององค์พระ มักถูกปกคลุมด้วยคราบดินขี้กรุให้เห็นเป็นจำนวนมาก

ขนาดขององค์
-พระท่าพระดาน พิมพ์ใหญ่ กว้างประมาณ 2.8 ซม. สูงประมาณ 4.5 ซม. ความหนาที่ฐานพระ 1.3 ซม. -พระท่าพระดาน พิมพ์เล็ก กว้างประมาณ 2.5 ซม. สูงประมาณ 3.8 ซม. ความหนาที่ฐาน 1.2 ซม.


พุทธคุณพระท่ากระดาน จ.กาญจนบุรี ยอดเยี่ยมทางแคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี

เรื่องที่ได้รับความนิยม

วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554

วิธีบูชาพระบรมครูพระเทพโลกอุดร


วิธีบูชาพระบรมครูพระเทพโลกอุดร
จะเป็นภาพถ่ายหรือรูปหล่อของหลวงปู่ท่าน หรือพระพิมพ์ที่หลวงปู่ท่านได้อธิษฐานจิตไว้ย่อมใช้ได้ทั้งสิ้น หลวงปู่ท่านโปรดผู้ประพฤติอยู่ในศีลธรรม ชอบอาหารมังสะวิรัติ ชอบฟังคำสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ชอบบูชาด้วยดอกมะลิสด น้ำฝน 1 แก้ว เทียนหนักหนึ่งบาท 1 คู่ ธูปหอม 5 ดอก (คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระ เจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้าหรือหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปานหรือหลวงพ่อโอภาสี วัดโอภาสี บางมด) ) การปฏิบัติธรรมสังวรณ์ในกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ประกอบด้วยศีล 5 เป็นอย่างน้อย ย่อมเป็นสิ่งพึงพอใจของหลวงปู่และทั้งยังให้ความสุชความเจริญทั้งคดีโลกและ คดีธรรมแก่ผู้ปฏิบัติ


สำหรับพิมพ์อรหันต์ พิมพ์ปิดตา และพิมพ์มหากัจจายนะซึ่งเป็นองค์เดียวกันแต่ปางต่างกันหากจะอาราธนาอย่างพิศ ดารก็ย่อมกระทำได้ กล่าวคือพิมพ์อรหันต์ใหญ่ พิมพ์อรหันต์กลางและพิมพ์อรหันต์น้อย อยู่ในหมวดพระมหากัจจายนะรูปงามซึ่งเป็นรูปเดิมก่อนการอธิษฐานวรกายให้ต่อ ท้ายด้วยคาถาดังนี้
พิมพ์อรหันต์
อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ รูปะวะระเชยยะสิทธิเม
(เชยยะ อ่านว่า ไชยะ ; รูปะวะระ แปลว่า รูปงาม)
*** โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ รูปะวะระเชยยะสิทธิเม ***
สำหรับสำหรับพิมพ์พระปิดตา ซึ่งเป็นปางอธิษฐานวรกายให้สวดพระคาถา โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา แล้วต่อท้ายด้วยพระคาถาต่อไปนี้
พิมพ์พระภควัมปติ(ปิดตา)
ควัมปติ จะ มหาเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม
*** โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา ควัมปติ จะ มหาเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม ***
สำหรับพิมพ์พุงพลุ้ย ที่นิยมเรียกกันว่า พระสังกัจจายน์ คำนี้ไม่มีศัพท์นี้ในภาษาบาลี ที่ถูกต้องคือ พระมหากัจจายนะ เถระเจ้าอันเป็นปางหลังจากที่นิมิตวรกายแล้ว ให้สวดพระคาถา โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา แล้วต่อท้ายด้วย พระคาถาต่อไปนี้
อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม
***โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม ***
จะเห็นว่าตัดเอาคำว่า รูปะวะระออกไปเพราะสิ้นความงดงามแล้ว
พระพิมพ์ของคณะพระเทพโลกอุดรนั้นทุกรูปแบบทุกพิมพ์ทรงมีอานุภาพครอบ จักรวาล อาราธนาทำน้ำมนต์ประสิทธิ์ยิ่งนัก โดยให้นำเอาพระแช่ในภาชนะที่บรรจุน้ำเรียบร้อยแล้ว บูชาด้วยดอกไม้ จุดธูปเทียน แล้วอธิษฐานตามความมุ่งหมาย เสร็จแล้วให้รีบนำพระขึ้นเช็ดน้ำด้วยสำลีหรือผ้าสะอาด ผึ่งลมให้แห้งก่อนนำไปบรรจุตลับ องค์พระจะไม่ละลายลบเลือนและไม่ควรแช่ในน้ำนานเกินควร จงทะนุถนอมให้จงดี เพราะหาไม่ได้อีกแล้ว
สำหรับท่านที่มีพระอันเป็นทิพยสมบัติอันทรงคุณค่า โดยได้รับสืบทอดมาจากบรรพชนหรือได้รับจากทางใดทางหนึ่งก็ตาม เสมือนมีแก้วสารพัดนึกอยู่กับตัว ไม่จำเป็นต้องขวนขวายในอิทธิวัตถุอื่นอีก
คำบูชาบรมครูพระโลกอุดร
นะโมตัสสะภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯลฯ ( 3 จบ )
โย อะริโย มะหาเถโร อะระหัง อะภิญญาธะโร ปฎิสัมภิทัปปัตโต เตวิชโช พุทธะสาวะโก พะหู เมตตาทิวาสะโน มะหาเถรา นุสาสะโก โส โลกุตตะโร นาโม อัมเหหิ อะภิปูชิโต อิฐะ ฐานูปะมาคัมมะ กุสะเล โน นิโยชะเย ปุตตะเมวะ ปิยัง เทสิ มัคคะผะลัง วะ เทสสะติ ปะระมะสาริกะธาตุ วะชิรัญจา ปิวานิตัง โส โลเก จะ อุปปันโน เอเกเนวะ หิตังกะโร อะยัง โน โข ปุญญะลาโภ อัปปะมัตโต ภะเวตัพโพ สาธุกันตัง อะนุกะริสสามะ ยัง เวเรนะ สุภาสิตัง โลกุตตะโร จะ มหาเถโร เทวะตา นะระปูชิโต โลกุตตะระคุณัง เอตัง อะหัง วันทามิ ตัง สะทา มะหาเถรา นุภาเวนะ สุขัง โสตถี ภะวันตุ เม
บทสวด แบบย่อหรืออาราธนาพระพิมพ์ (ได้ทุกทรงพิมพ์)
โลกุตตะโร ปัญจะ มะหาเถโร อะหัง วันทามิ ตัง สะทา
หรือภาวนา ๓ จบ , ๗ จบ , ๙ จบ (เช้า-เย็น ตื่นนอนและก่อนนอน)
โลกุตตะโร ปัญจะ มะหาเถโร อะหัง วันทามิ ตัง สะทา เมตตาลาโภ นะโสมิยะ อะหะพุทโธ
หมายเหตุ : บทความที่นำมาเสนอนี้ได้รับการอนุญาตในการคัดลอกและเรียบเรียงเพื่อเผยแพร เป็นวิทยาทานจากท่าน อาจารย์ ประถม อาจสาครเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นับเป็นพระคุณและความกรุณาอย่างยิ่ง
ท่านสามารถอาราธนาเป็นภาษาไทยได้ ถ้ายังจำบทสวดของท่านไม่ได้
ท่านที่ห้อยพระหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ที่ท่านเมตตาเสกให้นั้น หากมีความจำเป็นที่ต้องไปในสถานที่อโคจรทั้งหลาย มีบทสวดที่ใช้ในการนี้มาฝากทุกท่าน
ก่อนที่จะเข้าไปในสถานที่อโคจรให้สวด อิติภะคะโว
กลับออกมาจากสถานที่อโคจรให้สวด โสภะคะวา
หรือก่อนที่จะเข้าไปในสถานที่อโคจรให้สวด อะระหัง
กลับออกมาจากสถานที่อโคจรให้สวด หังระอะ
บทแผ่เมตตาโบราณนะเมตตา โมเมตตา ปะวาเสนตัง อะหังโหมิ สุจิตตาปะมาทาตุ สุจิตโตปะโมทาตุ
บทแผ่เมตตาอันยิ่งใหญ่
มหาโคตะโมปาทะเกอิ จะอะปาทะเกอิ เมเมตตังเมตตัง
สำหรับท่านที่ได้บูชาพระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร อธิษฐานจิตไว้ให้นั้น  การวางพระพิมพ์หรือวัตถุมงคลต่างๆ ต้องวางไว้ในที่เหมาะสม ควรใช้พวงมาลัยไว้พระพิมพ์ (เป็นการไหว้หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร และเทวดาผู้ที่รักษาพระพิมพ์) พวงมาลัยที่ใช้ไหว้นั้น ต้องเป็นพวงมาลัยที่มีดอกรัก ,ดอกมะลิ ,ดอกกุหลาบ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ แต่ห้ามใช้พวงมาลัยที่เป็นดอกดาวเรืองโดยเด็ดขาด ส่วนการวางพวงมาลัย ควรหาพานมาเพื่อใช้ในการวางพวงมาลัย
หากท่านใดที่ได้ทำบุญไม่ว่าจะเป็นการทำบุญเรื่องอะไรก็ตาม ควรที่จะกรวดน้ำให้กับผู้เสก,ผู้สร้าง และเทวดาประจำองค์พระพิมพ์ด้วยทุกๆครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น